ลาวเจรจาสร้างรถไฟฟ้ากับจีนได้ดีกว่าไทย?
  AREA แถลง ฉบับที่ 5/2559: วันพุธที่ 06 มกราคม 2559

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

          จากกรณีการเจราจาสร้างรถไฟฟ้าของลาวกับจีน ดูไม่เสียเปรียบเท่ากรณีประเทศไทย รัฐบาลไทยจึงควรพิจารณาให้ถ้วนถี่ แม้แต่กรณีอินโดนีเซียก็ยังเจรจาได้ดีกว่าไทย

          ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) สรุปว่า เงินลงทุนสร้างรถไฟความเร็วปานกลาง คือ 38,700 ล้านหยวน (6,040 ล้านเหรียญสหรัฐ 217,440 ล้านบาท สำหรับระยะทางประมาณ 427 กิโลเมตร รัฐบาลจีนออกเงิน 70% ของเงินลงทุน ส่วนลาวออกส่วนที่เหลือ และทั้งสองฝ่ายจะนำเงินมาประเดิมที่ 40% ของเงินลงทุนของแต่ละฝ่าย ในเบื้องต้นรัฐบาลลาวจะได้เงินกู้จากจีน 480 ล้านเหรียญสหรัฐ (17,280 ล้านบาท) เพื่อจ่ายเงินลงทุนในส่วนของลาว แสดงว่าลาวไม่ได้ออกเงินเองเลย สำหรับเขตทางรถไฟจะมีความกว้าง 50 เมตร ส่วนสถานีที่กลางกรุงเวียงจันทน์ จะมีขนาด 937.5 ไร่ และสถานีเล็กสุดมีขนาด 250 ไร่ (11 สถานี)

          รถไฟความเร็วสูงนี้ ใช้ขน "ผัก" หรือสินค้าเกษตรและอื่น ๆ เช่นที่เคยมีการถกเถียงในประเทศไทยเช่นกัน โดยเชื่อว่าจะทำให้ค่าขนส่งถูกลงเหลือเพียงหนึ่งในสี่จากค่าใช้จ่ายในปัจจุบันและใช้ความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสำหรับขบวนที่ขนผู้โดยสาร หากวิ่งที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็จะใช้เวลาจากชายแดนจีนถึงกรุงเวียงจันทน์ได้ในเลา 3 ชั่วโมง จาก 24 ชั่วโมงโดยทางรถในปัจจุบัน แต่วางแผนว่าจะใช้ความเร็วที่ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในทางเรียบ

          สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในตอนแรกจีนยื่นข้อเสนอที่ 3% ต่อปี อย่างไรก็ตามรัฐบาลลาวได้ต่อรองอัตราดอกเบี้ยลง แต่ไม่ได้เปิดเผย (สงสัยกลัวไทยจะรู้) อย่างไรก็ตามลาวมีความมั่นใจว่าจะสามารถใช้คืนหนี้ได้เพราะจะได้จีนจากการให้สัมปทานเหมืองแร่โปแตส 5 แห่ง โดยเชื่อว่าจะสามารถใช้หนี้คืนได้ภายใน 5 ปี ไม่ใช่ 30 ปีตามสัญญาเดิม ทั้งนี้ลาวคาดหวังว่าโครงการนี้จะทำให้เศรษฐกิจลาวเติบโตขึ้น 32% และจะมีผู้ใช้บริการ 4 ล้านคนในระยะเริ่มต้น และเติบโตเป็น 6.1 ล้านคนในช่วงกลาง และในระยะยาวจะมีผู้ใช้ถึง 8.1 ล้านคน ยิ่งกว่านั้นยังจะมีผู้ใช้บริการจากส่วนอื่นอีกด้วย

          เมื่อเปรียบเทียบกับไทย
          1. โครงการของลาวใช้เงินต้นทุนกิโลเมตรละ 509 ล้านบาท ในขณะที่ไทยจะใช้เงิน 627 ล้านบาท ทั้งที่ลาวต้องผ่านป่าเขามากมาย ในกรณีอินโดนีเซียก็ใช้เงินน้อยกว่าคือ จากจาการ์ตาไปไปสุราบายา เป็นเงินเพียง 568 ล้านบาท (http://bit.ly/1JqLtlv)
          2. เงินกู้ต่าง ๆ นั้น รัฐบาลลาวแทบไม่ได้ใช้เงินสดหรือเงินลงทุนในส่วนของตนเองเลย แต่ไทยต้องใช้เงินเป็นอันมาก จึงถือว่ามีความเสี่ยงสูง  ตามข่าวที่ผ่ามา ในวันทำพิธีเริ่มต้นโครงการรถไฟไทย-จีน ที่สถานีรถไฟเชียงรากน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมา ระบุว่าใช้งบประมาณ 530,000 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้างประมาณ 400,000 ล้านบาท โดยจีนเสนอค่าแรงขั้นต่ำ 160 หยวนต่อวัน หรือคิดเป็นเงินไทย 800 บาทต่อวัน และเสนอให้ไทยสั่งนำเข้าวัสดุก่อสร้างจากจีนที่ราคาแพง ซึ่งสูงกว่าที่ไทยประเมินไว้ 400,000 ล้านบาท (http://bit.ly/1JqLtlv)

          ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงควรที่จะไตร่ตรองให้จงหนักก่อนลงนามในสัญญารถไฟกับจีน

แหล่งข้อมูล:
Railway could be built sooner than planned: Official  ณ 3 มกราคม 2559 http://www.vientianetimes.org.la/FreeContent/FreeConten_Railway.htm

Laos And China Come to Terms on Loan Interest Rate For Railway Project ณ 5 มกราคม 2559
http://www.rfa.org/english/news/laos/laos-china-come-to-terms-on-loan-interest-rate-for-railway-project-01042016163552.html

อ่าน 1,693 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved