ราคาที่ดินรถไฟฟ้าสายสีชมพู: สายอันตราย
  AREA แถลง ฉบับที่ 173/2562: วันพฤหัสบดีที่ 04 เมษายน 2562

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            มาดูราคาที่ดินติดรถไฟฟ้าสายสีชมพูว่ามีราคาเท่าไหร่บ้าง ว่ากันว่ารถไฟฟ้าสายนี้อันตราย เพราะอาจซ้ำรอยสายสีม่วงที่มีคนขึ้นน้อย

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ชี้ให้เห็นถึงราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู และรายละเอียดของรถไฟฟ้าสายนี้ โดย "รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการโดย บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนโครงการและสัญญาสัมปทานกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" (https://bit.ly/1mzCf1e)

            "ในโครงการนี้ได้รับการกำหนดให้ใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (monorail) เป็นระบบหลัก และเป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร  ในระยะแรกโครงการดังกล่าวมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 27 กิโลเมตร แต่ต่อมาก็ได้มีการขยายต้นทางจากปากเกร็ดมายังแคราย เพื่อเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ทำให้เส้นทางของโครงการเริ่มต้นที่ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดที่มีนบุรี ระยะทางรวมประมาณ 34–36 กิโลเมตร"

            "รถไฟฟ้าสายนี้เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว แบบวางคร่อมราง (straddle-beam monorail) ทางวิ่ง ยกระดับที่ความสูง 17 เมตรตลอดทั้งโครงการ มีรางที่ 3 ตีขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ

ตัวรถได้เลือกใช้รถรุ่น Bombardier Innovia Monorail 300 เป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูงประมาณ 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมรางทั้งหมด) ความจุ 356 คนต่อตู้ (คำนวณจากอัตราความหนาแน่นที่ 4 คน/ตารางเมตร) มีทั้งหมด 42 ขบวน 168 ตู้ ต่อพวงแบบ 4 ตู้ต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ ขบวนรถสามารถขับเคลื่อนจากจุดจอดแต่ละสถานีได้เองโดยไม่ต้องใช้คนควบคุมหรือสั่งการ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 24,100 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง"

            "สถานีมีสถานีทั้งหมด 32 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด ตัวสถานีมีความยาว 150 เมตร รองรับขบวนรถไฟฟ้าได้สูงสุด 8 ตู้ ต่อหนึ่งขบวน สถานีส่วนใหญ่ใช้รูปแบบชานชาลาด้านข้างทั้งหมด ยกเว้นสถานีอิมแพคชาเลนเจอร์ที่กำหนดให้ใช้สถานีรูปแบบชานชาลากลาง เพื่อเพิ่มพื้นที่บริเวณชานชาลาให้รองรับผู้โดยสารได้เป็นจำนวนมาก มีประตูกั้นชานชาลาความสูง Half-height ทุกสถานี ตัวสถานีถูกออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคทั้งบนดินและใต้ดิน รวมถึงออกแบบให้รักษาสภาพผิวจราจรบนถนนให้ได้มากที่สุด และมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน และบริเวณพื้นที่ว่างในบางสถานี"

สำหรับราคาที่ดินเป็นดังนี้:
สถานี ราคาที่ดิน บ/ตรว.
แคราย 250,000
สนามบินน้ำ 200,000
สามัคคี 200,000
กรมชลประทาน 200,000
แยกปากเกร็ด 220,000
เมืองทองธานี 220,000
ศรีรัช 220,000
แจ้งวัฒนะ 14 220,000
ศูนย์ราชการฯ 220,000
ทีโอที 220,000
หลักสี่ 250,000
ราชภัฏพระนคร 180,000
วัดพระศรีมหาธาตุ 180,000
รามอินทรา 3 180,000
ลาดปลาเค้า 180,000
รามอินทรา กม.4 180,000
มัยลาภ 180,000
วัชรพล 180,000
รามอินทรา กม.6 180,000
คู้บอน 180,000
สินแพทย์ 150,000
วงแหวนตะวันออก 150,000
นพรัตน์ 120,000
บางชัน 120,000
เศรษฐบุตรบำเพ็ญ 120,000
ตลาดมีนบุรี 160,000
มีนบุรี 160,000

 

            สำหรับการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินในแต่ละสถานี เพิ่มขึ้นไม่มากประมาณ 5-10% ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอยู่ที่ 7.9% ทั้งนี้มีแปลงตัวอยู่เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟฟ้าถึงประมาณ 130 สถานี

            การสร้างที่อยู่อาศัยหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นใดตามแนวรถไฟฟ้านี้อาจมีข้อจำกัดเพราะ

            1. รถไฟฟ้าเส้นนี้ไม่ใช่รถไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น BTS จึงขนส่งได้ไม่มากนัก

            2. ประชากรในพื้นที่ยังไม่หนาแน่นมากนัก คล้ายรถไฟฟ้าสายสีม่วง

            3. มีรถประจำทาง รถตู้เสริมในพื้นที่อยู่ตลอด

            4. ไม่ใช่เส้นทางที่จะมีผู้สัญจรมาก ไม่เหมือนรถไฟฟ้าสายวิ่งเข้าเมือง

            การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพูจึงพึงสังวร

 

อ่าน 18,071 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved