พิสูจน์ชัด ไม่มีเสือในพื้นที่สร้างเขื่อนแม่วงก์
  AREA แถลง ฉบับที่ 324/2559: วันอังคารที่ 06 กันยายน 2559

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

         ตามที่ รมว.เกษตรฯ บอก 'เสือไร้ขาหนีน้ำหรือ' หลังเอ็นจีโอต้านเขื่อนแม่วงก์กลัวเสือสูญพันธุ์ แล้ว อ.ศศินมาบอกว่า รมว.คิดอย่างไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ดร.โสภณ ย้ำว่า ความจริง อ.ศศินต่างหากที่คิดอย่างไสยศาสตร์

         ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย  (www.area.co.th) กล่าวว่า รมว.เกษตรฯ (พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ) กล่าวถูกต้องแล้วที่ว่า "เสือไม่มีขาหนีน้ำหรือเป็นเสือหินจึงวิ่งไม่ได้" ส่วนที่ อ.ศศิน "ชี้พูดเหมือนตนไม่เคยให้ข้อมูลมาเลยตลอด 2 ปี เหน็บกลับเป็นถึงนายพลไม่เข้าใจวิทยาศาสตร์" การพูดแบบนี้ของ อ.ศศิน แสดงความเป็นไสยศาสตร์ เพราะแทนที่จะอธิบายให้เข้าใจในคราาวเดียว กลับได้แต่เหน็บกลับ ใช้ความเชื่อส่วนตัวมาอธิบาย แบบนี้ใช่ไม่ได้ (http://bit.ly/1Mkcpdi)


ภาพที่ 1: ‘มองต่างมุม’ เรื่องเสือที่ไม่พึงเชื่อง่ายๆ จากการสร้างข่าว

         พอเห็นว่าไม่มีเสืออยู่ในพื้นที่สร้างเขื่อน บางคนก็ไพล่ไปอธิบายว่า “เวลานักอนุรักษ์บอกว่าป่าบริเวณนั้นเป็นบ้านแหล่งใหญ่ที่สุดของเสือ เราไม่ได้มองแต่พื้นที่บริเวณที่จะมีการสร้างเขื่อนแค่ 13,000 ไร่ตามที่ท่านเข้าใจ เราไม่ได้มองแค่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ครับ เรามองป่าตะวันตกทั้งผืน” แต่สิ่งที่นักอนุรักษ์นำออกมาโฆษณาชวนเชื่อตามสื่อต่าง ๆ ก็คือมีเสื้อในพื้นที่ก่อสร้างเขื่อน จึงไม่ควรสร้างเขื่อน


ภาพที่ 2: การชั่งน้ำหนักของคำพูดของประธานมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร

         แต่ในความเป็นจริง พื้นที่นี้ตั้งอยู่ชายขอบของป่า ล้อมรอบด้วยบ้านชาวบ้านและชุมชนมากมาย มีขนาดเพียง 0.1% หรือ 1 ใน 1,000 ของผืนป่าตะวันตก ผมถึงให้ข้อคิดว่าเสือ 11 ตัวจะมาชุมนุมในพื้นที่เล็ก ๆ ขนาดเพียง 2 เท่าของเขตสาทร เขตที่เล็กที่สุดเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานครได้อย่างไร เสือคงไปอยู่ในพื้นที่ 99.9% ของผืนป่ามากกว่า

         บรรดาภาพถ่ายเสือที่พบร่องรอยเสือจากองค์กรสัตว์ป่านานาชาติ หรือเจ้าหน้าที่อุทยานนั้น แน่นอนว่าเป็นการพบในป่าลึก ไม่ใช่ในละแวกบ้านของชาวบ้าน ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ระบุจุดพิกัด นำมาตีขลุมได้ และล้วนนำเสนอโดยกลุ่มที่เอนเอียงไปทางพวกต่อต้านการสร้างเขื่อน จึงต้อง “ฟังหูไว้หู” ใช่ว่าจะเชื่อถือได้เสียทีเดียว แล้วรายงาน EIA (ไม่ใช่ EHIA ซึ่ง อ.ศศิน ออกมาคัดค้านทั้งที่ยังทำไม่เสร็จ ไม่มีตัวตน) ก็ต้องตรวจสอบที่มาของข้อมูลเช่นกัน


ภาพที่ 3: ความสวยงามของยอดเขาโมโกจูกับที่ตั้งเขื่อนห่างกันมาก

         ถ้ามีเสือจริง ชาวบ้านคงไม่ปล่อยไว้ ข้อนี้เรามาดูข้อเท็จจริง (Hard Facts) กัน:

         1. ข่าว “ชาวบ้าน อ.ประทาย โคราช ออกไล่ล่าเสือโคร่ง หลังพบออกมาหากินในพื้นที่” http://bit.ly/1Pon2Xb

         2. ข่าว “ชาวบ้านพบเสือ 2 ตัว - ผู้ว่าฯ ตาก วอนอย่าล่า (เพราะออกมาจากป่าสมบูรณ์)” http://bit.ly/1pwGvzX

         3. ข่าว “เสือเบตง สิ้นฤทธิ์ จับตายเสือเบตง หลังตะปบชาวบ้านดับ 3 ราย” http://bit.ly/1ZnfTht

         4. ข่าว “ชาวบ้านขอนแก่นผวา เสือดาวบุกกินไก่ วอน จนท.เร่งล่า” http://bit.ly/1pwGzzG

         5. ข่าว “ชาวบุรีรัมย์ผวาพบเสือ-รอยเท้าเกลื่อนขณะเข้าป่าหาเห็ด วอน จนท.เร่งจับตัว” http://bit.ly/22BwuA3

         มีนักวิชาการบางท่านอ้างว่าไม่ใช่เสือ ผมก็ได้ตอบโต้ไปให้เจนว่าเป็นเสือจริงทั้งสิ้น http://bit.ly/1VYQE1u เสือเหล่านี้ส่วนมากคงไม่ได้มาตามสมมติฐานที่ว่าเป็นเสือที่หลุดออกมาจากกรงเป็นหลัก แต่ออกมาหากินโดยพลัดหลงออกมาจากป่าก็มีจนกระทั่งผู้ว่าราชการจังหวัดตากต้องออกมาขอร้องไม่ให้ประชาชนไล่ล่าเสือ ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่า หากบริเวณใดที่พบเสือ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งโดยรอบก็มีหมู่บ้านชาวบ้านอยู่กันเป็นจำนวนมากนั้น ชาวบ้านคงต้องรู้หรือเคยเห็น และคงผวาเช่นเดียวกับที่อื่น ๆ จนเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ ต้องถือปืนยาวออกมาไล่ล่าเหมือนที่อื่น ๆ แล้ว


ภาพที่ 4: การจับตายเสือเบตงที่ออกมาจากป่ากัดคนตาย 3 ศพ รวมทั้งสัตว์เลี้ยง

         การอ้างสัญชาตญาณเสือว่าจะไม่ทำร้ายใคร กลัวคน จึงไม่ออกจากป่า คงเป็นแค่การใช้ความรู้เรื่องเสือมาปรามคนอื่นเท่านั้น แต่จากข้อมูลเรื่องเสือทั้งหลายที่ (หลง) ออกจากป่ามากินคนหรือสัตว์นั้น เราได้เห็นกันอยู่เนือง ๆ ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นตามข่าวเร็ว ๆ นี้ที่แสดงไว้ ยิ่งกว่านั้นนักต้านเขื่อน (แม่วงก์) ยังแสดงความปริวิตกอีกว่า หากมีการสร้างเขื่อนอาจมีคนแอบผสมโรงล่าสัตว์ ตัดไม้ กรณีนี้นักต้านฯ เหล่านี้ก็ควรออกมาคอยตรวจสอบ หรือนี่เป็นงาน “ปิดทองหลังพระ” ไม่ดังเท่าการออกมาเดินเคลื่อนไหวให้คนสับสน

         ภาพหลักฐานที่มีการนำเสนอ บอกว่าพบเสือที่บริเวณที่สร้างเขื่อนแต่ไม่มีหลักฐานแสดงและท่านก็คัดค้านการสร้างเขื่อน ผมจึงขอไม่เชื่อในข้อนี้ ส่วนที่บางท่าน แสดงหลักฐานว่าพบเสือนั้น ปรากฏว่าเป็นการพบนอกพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนอย่างชัดเจน แต่ที่ผ่านมามีคนนำภาพเสือมาอ้างเพื่อขัดขวางการสร้างเขื่อนมาโดยตลอด


ภาพที่ 1: พื้นที่พบเสืออยู่ที่ห่างไกล โดยใกช้สุดอยู่ที่บ้านปางข้าวสารห่างบจากก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ประมาณ 6 กิโลเมตร 
ถ้าเดินคงใช้เวลา 5 ชั่วโมง เพราะกรณีไปถึงยอดเขาโมโกจู 27 กิโลเมตร ยังใช้เวลาเดินไปกลับ 5 วัน

         ที่ผมว่าพื้นที่สร้างเขื่อนล้อมรอบโดยชาวบ้านนั้น ไม่ถึงขนาดว่าถูกตีกรอบแบบเถรตรงเช่นนั้น แต่ดูจากภาพถ่ายก็เห็นชัดเจนว่ามีบ้านชาวบ้านอยู่เต็มไปหมด รีสอร์ทที่พักก็มีนับสิบแห่งในบริเวณใกล้เคียง ถ้าเสือมีจริง ป่านนี้ชาวบ้านคงผวาไปแล้ว และระหว่างการไล่ชาวบ้านนับพันๆ คนเพื่อสร้างเขื่อนในพื้นที่เดิม กับการใช้พื้นที่ขนาดเล็กในที่ใหม่นี้ ผมมั่นใจว่าที่ใหม่นี้น่าจะมีผลกระทบต่อประชาชนน้อยกว่า ผมจึงเห็นแก่ประชาชนมากกว่าเสือ (จร) ครับ


จากแก่งลานนกยูง (A) มีบ้านเรือนประชาชนอยู่ทั้งด้านตะวันออกและด้านใต้และมีรีสอร์ตนับสิบแห่ง

         เรื่องเสือก็เป็นเรื่องปั้นแต่ง ที่ผ่านมามักมีข่าวว่าพบเสือในป่าแม่วงก์ เช่นล่าสุดกันยายน 2557 ก็มีข่าว "เสือโคร่งจากกล้องดักถ่ายอัตโนมัติ ณ ผืนป่าแม่วงก์-คลองลาน" โดยในภาพ เสือก็อยู่บนภูเขาสูง คลองลานเป็นคนละที่ ไม่ใช่ที่ตั้งเขื่อนแม่วงก์แน่นอน จะสังเกตได้ว่าการโกหกสร้างภาพมีเป็นระยะๆ ความจริงคือจุดที่สร้างเขื่อนเป็นชายขอบป่า เสือคงไม่มา แต่ก็เคยมีการพบรอยเท้าเสือแต่อยู่ห่างไกลออกไป ที่สำคัญบริเวณนี้เป็นพื้นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านและยังมีรีสอร์ตมากมาย มีจุดกางเต้นท์ ซึ่งแสดงว่าไม่มีเสือจริง และจากประสบการณ์ในที่อื่น หากพบมีเสือ ก็จะถูกไล่ล่าจนได้ เพราะเป็นอันตรายต่อชาวบ้านทั่วไป {12} อย่าลืมว่าที่สร้างเขื่อนมีขนาดเพียง 0.1% หรือ 1 ใน 1,000 ของผืนป่าตะวันตก (แม่วงก์-คลองลาน) ขนาดเพียง 2 เท่าของเขตสาทร เขตที่เล็กที่สุดเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานครได้อย่างไร เสือคงไปอยู่ในพื้นที่ 99.9% ของผืนป่าลึกมากกว่า (http://bit.ly/1VZab1S)


รูปนี้ปลอมแน่นอน เสือตัวเล็กขนาดนี้ จะเดินมาในพื้นที่สร้างเขื่อนที่มีคนอยู่โดยรอบได้อย่างไร
คงถ่ายจากป่าลึกแล้ว "โมเม" ว่าอยู่ในพื้นที่สร้างเขื่อน ซึ่งไม่เคยพบแม้แต่รอยเท้าเสือเลย

         อย่าได้แคร์เสือสูญพันธุ์เขาเลี้ยงกันมากมาย เสือที่เราเห็นแข็งแรงกว่าคนเรามากมายนั้นมีอายุเพียง 16 ปีในป่า แต่ถ้าเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์ (เปิด) ก็จะมีอายุได้ถึง 26-30 ปี ดังนั้นหากจับเสือมาอยู่ในกรง มาอยู่ในสวนสัตว์ปิด สวนสัตว์เปิด หรืออื่นใด ย่อมทำให้ชีวิตเสือยืนยาวกว่า แต่การพูดอย่างนี้พวกเอ็นจีโออาจเป็นเดือดเป็นแค้นใหญ่ อยากจับผมหรือใครใส่ในกรงบ้าง คือพวกนี้คงเห็นแก่เสือมากกว่าคน

         ที่เสืออายุสั้นก็เพราะเป็นสัตว์กินเนื้อต่างจากสัตว์กินพืช ลำไส้ของสัตว์กินเนื้อยาวเพียง 3 เท่าของร่างกาย เพื่อขับถ่ายเนื้อที่เน่าเสียออกได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่มนุษย์เหมือนกับสัตว์กินพืชอื่นคือมีลำไส้ยาวกว่าร่างกายถึง 10-12 เท่า เพราะพืชและผลไม้จะเน่าเสียช้ากว่า จึงผ่านการย่อยและดูดซึมเข้าผ่านลำไส้ได้ตามปกติไม่มีความจำเป็นต้องเร่งถ่ายออก สำหรับเสือโคร่งส่วนใหญ่ในป่าของไทยประเทศไทยตายด้วยโรคพยาธิและโรคติดเชื้อ (http://bit.ly/1VZab1S)

         ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าบริเวณที่สร้างเขื่อนแม่วงก์ (ซึ่งมีพื้นที่ 0.1% ของผืนป่าตะวันตก หรือขนาดเพียง 2 เท่าของเขตสาทร ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตเล็กที่สุดของกรุงเทพมหานคร) ไม่มีเสือ เสือ 11 หรือ 12 ตัวที่พบ คงอยู่ในผืนป่า 99.9% ต่างหาก การอ้างเรื่องเสืออย่างคลุมเครือและของ NGOs และนักค้านเขื่อนที่เต็มไปด้วยอคติเพื่อหวังลวงให้คนเชื่อผิด ๆ ตามตนจะได้ร่วมค้านเขื่อน จึงถือเป็นวาระซ่อนเร้นที่พึงสังวร

อ่าน 5,602 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved