กรีนพีซต้องสงสัยว่าบ่อนทำลายชาติ?!?
  AREA แถลง ฉบับที่ 20/2560: วันอังคารที่ 10 มกราคม 2560

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

          ตามข่าว "อินเดียแบนเอ็นจีโอ20,000 กลุ่ม" (https://goo.gl/ntVCkv) ระบุว่า "รัฐบาลอินเดียเพิกถอนใบอนุญาตองค์กรพัฒนาเอกชน หรือเอ็นจีโอราว 20,000 กลุ่ม ที่รับเงินทุนจากต่างประเทศ หวั่นแอบแฝงบ่อนทำลายเศรษฐกิจของประเทศ" ข้อนี้น่าทำให้รัฐบาลไทยได้ฉุกคิดบ้าง

          ในข่าวยังบอกว่า "การกวาดล้างครั้งใหญ่ เริ่มเมื่อต้นเมื่อปี 2558 หลังจากรายงานข่าวกรองบ่งชี้ว่า เอ็นจีโอหลายกลุ่ม เช่น กรีนพีซ กำลังทำลายเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการรณรงค์ต่อต้านโครงการพัฒนาสำคัญหลายโครงการ และรัฐบาลอินเดียเพิกถอนใบอนุญาตเอ็นจีโอหลายพันกลุ่มนับจากนั้น โดยอ้างการใช้เงินบริจาคต่างชาติในทางที่ผิด เพื่อทำลายการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ"

          สำหรับในกรณีประเทศไทย ดร.โสภณ ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้เคยวิพากษ์กลุ่มกรีนพีซไว้อย่างละเอียด โดยเฉพาะการต่อต้านโรงไฟฟ้ากระบี่ซึ่งที่ผ่านมาแม้มีโรงไฟฟ้าก็ยังทำให้โรงแรมและรีสอร์ตในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเติบโตอย่างต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่าถ่านหินไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อประชาชน มาดูบทบาทของ ดร.โสภณที่ได้ต่อต้านพวกเอ็นจีโอต้องสงสัยอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกรีนพีซ ในเรื่องโรงไฟฟ้ากระบี่

 
กรีนพีซโกหกเรื่องโรงไฟฟ้ากระบี่หรือไม่
AREA แถลง ฉบับที่ 11/2559: วันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2559
 

         กรีนพีซพยายามบอกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ไม่ปลอดภัย ไม่ควรสร้าง แต่ความจริงมาเลเซียสร้าง 4 โรงได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งในประเทศอื่น ๆ อย่าให้ใครหลอกเรา ถ่วงความเจริญชาติด้วยความกลัวที่ไม่เป็นจริง
         หลายคนตั้งคำถามว่ากรีนพีซพูดความจริงหรือไม่ การเคลื่อนไหวของพวกเขาดูผิดปกติ แต่พวกเขาดูเป็นมืออาชีพในการใช้อารมณ์และความน่าสงสารในการเอาชนะใจของคนอื่นให้คล้อยตามความเคลื่อนไหวของพวกเขาเน้น “ดรามา” และใช้ม็อบแบบ “กฎหมู่” เราควรมาพูดความจริงกันดีกว่า
         ผมได้สังเกตดูความเคลื่อนไหวของกรีนพีซเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และเชื่อว่าความเคลื่อนไหวเหล่านี้ขาดข้อมูลประกอบที่เชื่อถือและเป็นความเห็นที่ไม่สอดคล้องกับความจริง ผมไม่มีวาระซ่อนเร้นหรือมุ่งหวังผลประโยชน์ใดๆ ผม “เอาพิมเสนมาแลกเกลือ” เพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ

         กรีนพีซระบุว่ามีคนตายถึง 360 คนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินระยองทุกปี กรีนพีซกำลังโกหกหรือไม่ การนำเสนอของกรีนพีซไม่มีเอกสารประกอบใด ๆ เลย ผมทำการวิจัยพบว่าในปี 2546 เปอร์เซ็นต์ของคนไข้ในทั่วประเทศที่เป็นมะเร็ง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคระบบทางเดินหายใจ มี 20% และเพิ่มเป็น 21% ในปี 2556 ในขณะนี้มีเพียง 18% ในจังหวัดระยองในปี 2546 และลดลงเล็กน้อยเหลือ 17% ในปี 2556

 

         ยิ่งกว่านั้นในปี 2557 เปอร์เซ็นต์ของผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง โรงความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคระบบทางเดินหายใจ มีเพียง 31% ในจังหวัดระยอง ซึ่งต่ำกว่าสถิติทั่วประเทศที่เฉลี่ยที่ 35% จากผลการสำรวจภาคสนามกับประชาชนในมาบตาพุด ในปี 2555 พบว่ามีเพียง 8 คนที่เสียชีวิตจากมลพิษโดยตรงในพื้นที่ ตัวเลขของกรีนพีซจึงพูดเกินเลยความจริงเป็นอย่างยิ่ง

         ในเอกสาร ‘โฆษณาชวนเชื่อ’ ของกรีนพีซ ระบุว่าถ่านหินไร้อนาคต อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาขนานใหญ่ด้วยระบบสหศาสตร์โดยสถาบัน MIT อนาคตที่สดใสของถ่านหินได้รับการยืนยันแน่ชัด การใช้ถ่านหินจะเพิ่มขึ้นจากผลการคาดการณ์ทั้งมวล เพราะเป็นพลังงานที่มีราคาถูกและมีถ่านหินอยู่มหาศาลทั่วโลก ในปัจจุบัน เขามุ่งใช้ถ่านหินบิทูมินัส ไม่ใช่ถ่านหินลิกไนต์อีกต่อไป มลพิษจึงจะยิ่งลดลงในอนาคต

         โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศไทย ในพื้นที่นี้ยังมีโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก 4 แห่งของมาเลเซียตั้งอยู่
         1. โรงไฟฟ้าแมนจุงตั้งอยู่ใกล้กับรีสอร์ตหรูและชุมชน ตั้งอยู่ติดชายทะเล และห่างจากโรงไฟฟ้ากระบี่เพียง 455 กิโลเมตร

         2. โรงไฟฟ้าจิมาห์ก็ตั้งอยู่ติดทะเล ในขณะที่โรงไฟฟ้ากระบี่ห่างจากทะเลถึงราว 10 กิโลเมตร โรงไฟฟ้านี้ตั้งอยู่ใกล้เขตเมืองและมีรีสอร์ตหรูและโรงแรมตั้งอยู่ใกล้ๆ จำนวนมากมาย ยกตัวอย่างเช่นโรงแรมอะวานีเซปังโกลด์โคสต์ก็ตั้งอยู่ในระยะไม่กี่กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้าแห่งนี้ แต่มลพิษกลับไม่เป็นปัญหา จากความเห็นของแขกที่เข้าพัก ไม่มีการบ่นว่าเกี่ยวกับการตั้งอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าถ่านหินแต่อย่างใด

         ในปี 2552 ประชาชนในท้องที่ก็แสดงความห่วงใยเรื่องความปลอดภัย แต่ในปัจจุบันประชาชนมั่นใจในความปลอดภัยของโรงงาน ส่วนโรงไฟฟ้ากระบี่นั้น ใช้ถ่านหินบิทูมินัสและเทคโนโลยีที่ดีกว่า ย่อมให้ความปลอดภัยแก่สาธารณชน และด้วยเหตุนี้เอง เสียงต่อต้านจึงแทบไม่ได้ยินในวันนี้
         3. โรงไฟฟ้า เคพีเออาร์ เป็นตัวอย่างที่ 3 โรงนี้ตั้งอยู่ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์เพียง 56 กิโลเมตร ถ้าไม่ปลอดภัยจามลพิษ โรงไฟฟ้านี้คงไม่สามารถตั้งอยู่ได้

         4. โรงไฟฟ้าตันจุงบิน ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากสิงคโปร์เพียง 9 กิโลเมตร โรงไฟฟ้านี้และท่าเรือขนาดยักษ์ตั้งอยู่บนพื้นที่ชุ่มน้ำเสียด้วย แต่ในกรณีไทย คนไทยกลับถูกหลอกให้เชื่อว่า พื้นที่ชุมน้ำเป็นเสมือน “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” ที่แตะต้องมิได้

         ยิ่งกว่านั้นสิงคโปร์ก็มีโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งแรกแล้ว ถ้าเทคโนโลยีไม่อาจเชื่อถือได้เพียงพอ สิงคโปร์และมาเลเซียคงไม่ยินดีต้อนรับโรงไฟฟ้าถ่านหิน มีผลการศึกษาของอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมาเลเซียและคณะ กล่าวว่าโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน ไม่ได้มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

         ยิ่งกว่านั้น ยังมีตัวอย่างในประเทศตะวันตกคือ โรงงาน จีเคเอ็มแมนเฮมในเยอรมนีที่ตั้งอยู่อย่างปลอดภัยริมฝั่งแม่น้ำไรน์และรายล้อมด้วยชุมชน ในทางตรงกันข้าม แม้แต่ในกัมพูชา ยังมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2 โรงอยู่ติดกับชายหาดในนครสีหนุวิลล์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของกัมพูชา

         ในกรณีโรงไฟฟ้ากระบี่ ได้เปิดดำเนินการในช่วงปี 2507 ถึง 2538 โดยใช้ถ่านหินลิกไนต์ที่มีคุณภาพต่ำกว่าถ่านหินบิทูมินัส อย่างไรก็ตามจำนวนรีสอร์ตหรูกลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นี่แสดงว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินไมได้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

         ในการถกเถียงออกทีวีครั้งหนึ่ง ผู้อำนวยการกรีนพีซประเทศไทยกล่าวว่า เอกสารต่อต้านโรงไฟฟ้ากระบี่ของกรีนพีซ ได้สำรวจจากชาวบ้านนับพันคน (http://goo.gl/vSnyIV) นี่ไม่ได้มีหลักฐานใดๆ ปรากฏในเอกสาร เป็นเพียงการพูดลอยๆ ไม่ใช่ความจริง ดังนั้นเอกสารชิ้นนี้จึงไม่ใช่งานวิจัย แต่เป็นเอกสาร “โฆษณาชวนเชื่อ” ที่จัดพิมพ์โดยกรีนพีซ
         เรามักจะพบเห็นม็อบต่อต้านโรงไฟฟ้ากระบี่ แต่คนเดินขบวนส่วนมากไม่ใช่คนในพื้นที่ และในที่สุดก็มีตัวแทนของประชาชน 5,000 คน ที่มีบ้านอยู่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียงมาสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าอย่างล้นหลาม ในสกู๊ฟพิเศษชิ้นหนึ่ง ยังพบว่าคนพื้นที่ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในระหว่างปี 2507-2538 โรงไฟฟ้านี้ใช้ถ่านหินลิกไนต์ ประชาชนในพื้นที่ก็ยืนยันว่าไม่มีผลกระทบด้านลบใดๆ โรงไฟฟ้าใหม่จะใช้ถ่านหินบิทูมินัส ซึ่งมีคุณภาพสูงกว่ามาก มลพิษ (ถ้ามี) คงยิ่งน้อยกว่าที่คาดไว้

         คำถามสุดท้ายต่อกรีนพีซก็คือความโปร่งใสของกรีนพีซเอง ในรายงานทางการเงินซึ่งปรากฏในรายงานประจำปีของแต่ละปี ระบุว่า ถ้าจะอ่านรายงานการตรวจสอบบัญชีฉบับเต็ม โปรดติดต่อแผนกงานดูแลสนับสนุนของกรีนพีซที่ supporterservices.ph@greenpeace.org ผมเขียนถึงอีเมล์ที่มีอยู่จริงถึงสำนักงานทั้งในไทยและฟิลิปปินส์ แต่ไม่เคยได้รับคำตอบกลับมาดังที่ว่าไว้เลย นี่สะท้อนให้เห็นว่ากรีนพีซไม่น่าเชื่อถือและอาจมีวาระซ่อนเร้น
         โดยสรุปแล้วโรงไฟฟ้าถ่านหินสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ ข้อนี้ได้รับการพิสูจน์มาแล้วทั่วโลก พลังงานจากถ่านหินคือคำตอบสำหรับประชาชนและสิ่งแวดล้อม เพราะว่าปลอดภัย ราคาถูกและมีอยู่มากมาย อย่าให้ใครลวงเราด้วยความกลัวและคำพูดบิดเบือน

Click to see (in English): https://www.youtube.com/watch?v=UFNfyjpafCQ

รับชมวิดิโอ คลิก: https://www.youtube.com/watch?v=eqyIcDA1mz8

อ่าน 3,305 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved