สร้างทางด่วนข้ามเขาใหญ่เลย
  AREA แถลง ฉบับที่ 151/2560: วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2560

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            ดร.โสภณ เสนอสร้างทางยกระดับ 33,864 ล้านบาท แก้ปัญหาช้างและสัตว์ป่าอื่นๆ รวมทั้งคนได้รับอันตรายจากการสัญจรบนถนนธนะรัชต์ข้ามเขาใหญ่ จะแก้ไขได้ด้วยการสร้างทางด่วนตัดตรงข้ามเขาใหญ่ไปเลย จะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนจริงๆ

รูปภาพช้างป่าเดินกลางถนนในเขาใหญ่

ที่มาของรูป: Khunkay commons.wikimedia http://bit.ly/2ndvOm8

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ชี้ให้เห็นว่าที่ผ่านมามีเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่าเขาใหญ่และผู้สัญจรบ่อยครั้ง เช่น:

            31 ธันวาคม 2559: นักท่องเที่ยวรอเคาท์ดาวน์เขาใหญ่ ระทึก!ช้างป่าโผล่ขวางถนนทางขึ้นผวาบุกเหยียบรถ http://bit.ly/2njdg5B

            19 ตุลาคม 2558: ยกมือไหว้!! ขอชีวิตจากช้างป่าเจ้าถิ่น www.youtube.com/watch?v=zWRgMysvvXg

            29 มกราคม 2558: รวมคลิปช้างป่าปะทะกับรถยนต์ต่าง ๆ www.youtube.com/watch?v=RgT5BxMsdqM

            10 มกราคม 2558: ระทึก! คลิปเหตุการณ์ช้างป่าเขาใหญ่ทับรถเก๋ง www.youtube.com/watch?v=PrJ79yk2a_s

            30 พฤษภาคม 2557: ช้างกระทืบคน www.youtube.com/watch?v=MOFL0C_ZHPk

            หากพิจารณาจากระยะทางจากด่านตรวจเก็บค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาทางด้านเหนือ จนถึงด่านตรวจเก็บค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตำบล เนินหอม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จะมีระยะทางประมาณ 46.3 กิโลเมตรและเป็นทางค่อนข้างคดเคี้ยว  หากก่อสร้างทางยกระดับตั้งแต่บริเวณปลายด้านเหนือถึงด้านใต้ของเขาใหญ่ก็คงมีระยะทางไม่เกิน 40 กิโลเมตร และยิ่งหากสามารถตัดตรงหรืออ้อมเพียงเล็กน้อย ไม่คดเคี้ยวดังปัจจุบัน ก็คงมีระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตรเท่านั้น

ภาพเส้นทางถนนธนะรัชต์ปัจจุบันบนเขาใหญ่

            หากเทียบกับโครงการทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครที่สร้างเมื่อ 21 ตุลาคม 2555 - 1 ตุลาคม 2557 มีระยะทางประมาณ 16.7 กิโลเมตร เขตทางด่วนมีความกว้างประมาณ 30 เมตร แบ่งออกเป็น 6 ช่วงจราจร (ไป 3 ช่องจราจร กลับ 3 ช่องจราจร กว้างช่องละประมาณ 3.5 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 1.5 เมตรไหล่ทางด้านใน 0.5 เมตร) ทางพิเศษนี้ยังมีทางขึ้นลงอีกหลายจุด มีค่าก่อสร้าง 17,137 ล้านบาท หรือตกเป็นเงินกิโลเมตรละ 1,026 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงินปัจจุบัน 1,129 ล้านบาท (บวกเพิ่ม 10%)

            หากสร้างทางยกระดับเช่นนี้ที่เขาใหญ่ระยะทาง 30 กิโลเมตร ก็คงเป็นเงิน 33,864 ล้านบาท การใช้เงินจำนวนนี้สร้าง จะทำให้

            1. สัตว์ป่าสามารถอยู่อย่างสงบสุข

            2. การสัญจรไปมาบนทางด่วนสามารถกันเสียงต่าง ๆ ได้ 

            3. ไม่ทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือเหตุร้ายเช่นแต่ก่อน 

            4. ในระหว่างการก่อสร้างอาจต้องแผ้วถางป่าบ้าง แต่ก็จะสามารถป้องกันการบุกรุกได้อย่างถาวร เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ทางบนถนนอย่างหนาแน่นเช่นเดิม

            5. เป็นการเพิ่มเส้นทางการเดินทางสู่กรุงเทพมหานครได้สะดวกยิ่งขึ้นอีกเส้นทางหนึ่งอีกด้วย

            6. ยิ่งกว่านั้นยังสามารถจัดเก็บค่าผ่านทางเพื่อการคืนทุนและนำเงินมาบำรุงรักษาป่า ปราบปรามการบุกรุกทำลายป่าได้อีกด้วย

            การแก้ปัญหาป่าด้วยการสร้างทางยกระดับ จึงเป็นทางออกที่ดีที่พึงพิจารณา

Youtube ดูวิดิโอ: www.youtube.com/watch?v=zWRgMysvvXg


Youtube ดูวิดิโอ: www.youtube.com/watch?v=RgT5BxMsdqM


Youtube ดูวิดิโอ: www.youtube.com/watch?v=PrJ79yk2a_s


Youtube ดูวิดิโอ: www.youtube.com/watch?v=MOFL0C_ZHPk

อ่าน 9,423 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved