โครงการรถไฟฟ้าขอนแก่น เจ๊งแน่!
  AREA แถลง ฉบับที่ 368/2561: วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม 2561

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            อันที่จริงผมควรร่วมอนุโมทนาสาธุกับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่นที่พยายามจะสร้างรถไฟฟ้าหรือระบบขนส่งมวลชนในจังหวัดภูมิภาคเอง แต่ผมก็ขอบอกกับความรักและห่วงใยในฐานะ ที่เคยไปอยู่เมื่อปี 2523

ดูวิดิโอ fb Live คลิกที่ลิงค์นี้: https://www.facebook.com/dr.sopon4/videos/1692672464178666/

            โครงการรถไฟฟ้ามวลเบาขอนแก่นนี้คาดว่าจะมีระยะทาง 22.6 กิโลเมตร ใช้งบประมาณลงทุน 15,000 ล้านบาท เทียบไม่ได้เลยกับเงินประเดิมที่ร่วมลงขัน แถมยังคิดจะใช้ที่ดิน 200 ไร่ของสถานีวิจัยข้าว ขอนแก่น (https://bit.ly/2IuALA6) รวมทั้งทรัพย์สินอื่นของทางราชการ แต่ไม่มีการคิดเป็นต้นทุนด้วยหรืออย่างไร ถ้ารวมต้นทุนอื่นๆ ด้วย ต้นทุนอาจสูงกว่านี้มากก็เป็นไปได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นความเป็นไปได้ทางการเงิน จะมีจริงหรือไม่สำหรับโครงการนี้ จึงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ ไม่เช่นนั้นอาจเป็นแค่การสร้างเส้นทางอำนวยความสะดวกและเพิ่มมูลค่าให้กับกลุ่มทุนใหญ่ในพื้นที่หรือไม่

            การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายนี้บนถนนมิตรภาพโดยใช้เกาะกลางถนนแบบไม่ยกระดับในช่วงต้น มีความเป็นไปได้หรือไม่เพียงใด พื้นที่คูน้ำกลางถนนก็ค่อนข้างแคบถ้าเทียบกับการวางรางรถไฟฟ้าทั้งขาไปและกลับ ถนนมิตรภาพก็มีขนาดสองช่องทางจราจรในแต่ละทิศทาง แสดงว่า หากไม่ต้องการเบียดเบียนทางหลวงสำคัญของภาคอีสานเส้นนี้ก็ต้องขยายถนนมิตรภาพออกไปให้มีขนาด 10 ช่องทางจราจรคล้ายในตัวเมืองขอนแก่นจึงไม่ทราบว่าภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เตรียมงบประมาณในส่วนนี้ที่จะสร้างผลกระทบต่อภาพรวมของแผ่นดินหรือไม่

            อาจกล่าวได้ว่าผู้ใช้บริการ คงมีจำนวนไม่เพียงพอ เทศบาลนครขอนแก่นมีขนาด 46 ตร.กม. มีประชากร (พ.ศ. 2560) ทั้งหมด 120,143 คน มรความหนาแน่นของประชากร เพียง 2,612 คนต่อ ตร.กม. เท่านั้น (https://bit.ly/2MsAcJo) ยิ่งในเขตเทศบาลหรือเมืองเล็กๆ อื่นๆ โดยรอบยิ่งมีความหนาแน่นต่ำกว่านี้นัก โอกาสที่จะมีผู้ใช้ระบบรถไฟฟ้ามวลเบาซึ่งวิ่งเพียงเส้นทางเหนือใต้ จึงน่าจะมีผู้ใช้บริการน้อยมาก

            ถ้าเทียบกับเทศบาลตำบลไทรม้าซึ่งเป็นเทศบาลเล็กๆในจังหวัดนนทบุรีซึ่งมีรถไฟฟ้าสายสีม่วงวิ่งผ่าน จะพบว่าเทศบาลแห่งนี้มีความหนาแน่นของประชากรประมาณ 2,725 คนต่อ ตร.กม. (https://bit.ly/2lznflA) ซึ่งยังสูงกว่าของเทศบาลนครขอนแก่น ยิ่งถ้าเทียบกับเทศบาลเมืองบางบัวทองก็จะพบว่าเทศบาลแห่งนี้มีความหนาแน่นของประชากรถึง 3,729 คน/ ตร.กม. (https://bit.ly/2yLRq2D) ถึงขนาดนั้นแล้วรถไฟฟ้าสายสีม่วงยังหาผู้โดยสารขึ้นได้ยากยกเว้นช่วงเวลาเร่งด่วนเท่านั้น

            ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าความสำเร็จของโครงการรถไฟฟ้ามวลเบาขอนแก่น น่าจะมีน้อย ยิ่งกว่านั้นรายได้ของประชากรในจังหวัดขอนแก่นย่อมน้อยกว่ารายได้ของประชากรในจังหวัดนนทบุรีเป็นอย่างมาก โอกาสจะมีผู้ใช้รถไฟฟ้าจึงมีจำกัดไปด้วย สำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อย การสัญจรระหว่างเทศบาลตำบลท่าพระถึงตัวเมืองขอนแก่น ก็ยังอาจใช้ระบบขนส่งมวลชนท้องถิ่น รถไฟ หรือรถประจำทางระหว่างเมืองซึ่งน่าจะมีค่าโดยสารต่ำกว่า แม้จะใช้เวลามากกว่าบ้างเล็กน้อย ผู้มีรายได้น้อยย่อมให้ความสำคัญของค่าของเงินมากกว่าค่าของเวลา

            โครงการนี้คาดว่าจะมีระยะทาง 22.6 กิโลเมตร ใช้งบประมาณลงทุน 15,000 ล้านบาท แถมยังคิดจะใช้ที่ดิน 200 ไร่ของสถานีวิจัยข้าว ขอนแก่น (https://bit.ly/2IuALA6) รวมทั้งทรัพย์สินอื่นของทางราชการ แต่ไม่มีการคิดเป็นต้นทุนด้วยหรืออย่างไร ถ้ารวมต้นทุนอื่นๆ ด้วย ต้นทุนอาจสูงกว่านี้มากก็เป็นไปได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นความเป็นไปได้ทางการเงิน จะมีจริงหรือไม่สำหรับโครงการนี้ จึงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ ไม่เช่นนั้นอาจเป็นแค่การสร้างเส้นทางอำนวยความสะดวกและเพิ่มมูลค่าให้กับกลุ่มทุนใหญ่ในพื้นที่หรือไม่

            ความเป็นไปได้ของการสร้างรถไฟฟ้าในเมืองในจังหวัดภูมิภาค เช่น ขอนแก่น ก็คือการเพิ่มความหนาแน่นของประชากรด้วยการกำหนดให้ในพื้นที่ใจกลางเมืองสามารถสร้างได้สูงและมีสัดส่วนพื้นที่ก่อสร้างกับพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) สูงขึ้นเป็น 10 ถึง 20 เท่าของพื้นที่ดินเพื่อให้ประชาชนอยู่ร่วมกันในเขตเมือง ไม่ไปรุกพื้นที่ชนบทรอบนอก และทำให้มีจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าพอเพียงนั่นเอง ถ้าจำนวนผู้ใช้บริการยังน้อยเกินไป ก็จะประสบภาวะขาดทุนและเป็นเพียงการเพื่อกลุ่มทุนที่มีทรัพย์สินอยู่ตามแนวรถไฟฟ้าเท่านั้น

            อีกประการหนึ่งรัฐบาลหรือส่วนท้องถิ่นควรมีมาตรการจัดเก็บภาษี เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทรัพย์สิน เพราะเมื่อมีรถไฟฟ้า มูลค่าทรัพย์สินตามเส้นทางและรอบๆ สถานีรถไฟฟ้า ก็จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าในบริเวณอื่น เจ้าของทรัพย์สินเหล่านั้นก็ควรเสียภาษีประจำปีเพิ่มมากขึ้นเพื่อไม่เป็นการเอาเปรียบสังคม และเมื่อมีการซื้อขายก็ควรเก็บภาษีจากกำไรสัก 20% เมื่อเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นหรือบำรุงรักษารถไฟฟ้าของท้องถิ่นนั้นๆ นั่นเอง ถ้าไม่มีการเก็บภาษีเหล่านี้ก็ยิ่งเกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม

            ยิ่งกว่านั้น สำหรับโครงการนี้ รัฐบาลก็ได้โอกาสหาเสียง ขายความคิดสมาร์ทซิตี้ (Smart City) ให้ผู้คนได้เอาไปเล่นต่อกันอย่างสนุกสนาน ทั้งที่สมาร์ทซิตี้ที่แท้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากประชากรในท้องถิ่นยังอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย จะไปไหนกันแต่ละทีต้องใช้รถส่วนตัว ถ้าแต่ละท้องถิ่นชุมชนยังไม่สามารถประคับประคองกันเอง (Self Sustained) ได้ เกิดเป็นสมาร์ทซิตี้ได้อย่างไร

            ผมก็อยากให้มีรถไฟฟ้าในเมืองภูมิภาคทั่วประเทศเพื่อกระจายความเจริญแต่พึงคิดให้รอบคอบนะครับ


ที่มาของรูปภาพ: http://www.khonkaenthinktank.com/upload/photo/web/yymbjUjN.png

อ่าน 12,394 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved