นายกฯ ให้เลี้ยงวัวนมในโรงเรียน=ไม่เข้าใจเศรษฐกิจ
  AREA แถลง ฉบับที่ 582/2562: วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2562

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            ตามที่มีข่าวว่านายกฯ แนะนำให้เลี้ยงวัวนมในโรงเรียนเพื่อรีดนมวัวให้นักเรียนดื่ม เพื่อแก้ปัญหานมบูดนั้น แสดงว่าท่านไม่เข้าใจเรื่องเศรษฐกิจเลย อาจนำไปสู่การแก้ปัญหาประเทศชาติที่ผิดพลาด

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ให้ความเห็นถึงข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแนะนำให้เลี้ยงวัวนมในโรงเรียนเพื่อรีดนมวัวให้เด็กนักเรียนดื่มทุกเช้าเพื่อแก้ปัญหานมบูดนั้น  ในแง่คุณภาพนม ตามที่ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่ากรณีการรีดนมวัวดิบให้เด็กดื่มในโรงเรียนนั้น ทำไม่ได้เพราะน้ำนมดิบมีเชื้อโรคอันตรายปนเปื้อนอยู่มาก ไม่ควรดื่ม (https://bit.ly/2OeqA7F)

            แต่ที่สำคัญที่ควรพิจารณาก็คือ ดร.โสภณ ให้ความเห็นว่า ท่านนายกฯ ไม่มีความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ  กล่าวคือ การนำวัวมาไว้ในโรงเรียนนั้น คงไม่สามารถผลิตนมได้ทันหรือพอเพียง และมีต้นทุนที่สูงเกินกว่าการซื้อวัวสำเร็จรูปมาให้นักเรียนดื่ม  กลายเป็นการสร้างภาระแก่โรงเรียนในการรีดนมวัวเอง หรือต้องจ้างคนมารีดนมวัวเพิ่มเติม ข้อนี้ท่านนายกฯ จำเป็นต้องเข้าใจศัพท์เศรษฐศาสตร์บางคำ ที่แสดงไว้

            คำที่นายกฯ ไม่ทราบก็คือ คำว่า “การประหยัดต่อขนาด” (Economies of Scale) คือ การที่ธุรกิจมีต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำลง เมื่อธุรกิจขยายขนาดการผลิตมากขึ้น เพราะมีการเฉลี่ยรายจ่ายที่เป็นต้นทุนคงที่ เช่น ที่ดิน เครื่องจักร ผู้บริหาร ฯลฯ ทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถแข่งขันได้ (https://bit.ly/2OcVxZR)

            ยิ่งกว่านั้นนายกฯ ในฐานะผู้บริหารพึงเรียนรู้อีก 2 คำคือ

            1. “การประหยัดจากความเร็ว” (Economies of Speed) คือ การที่ธุรกิจสามารถผลิตสินค้าได้เร็วขึ้น จะทำให้ต้นทุนลดต่ำลง   และทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจได้ ซึ่งอาจเป็นผลจากการร่วมมือทางธุรกิจ หรือ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน   ตัวอย่างเช่น   การสร้าง แบรนด์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ในรูปแบบเดียวกัน การจัดซื้อร่วมกัน ทำให้ได้รับวัตถุดิบเร็วขึ้น เป็นต้น และ

            2. “การประหยัดจากขอบเขต” (Economies of Scope)    หมายถึง     การที่ธุรกิจสามารถประหยัดต้นทุนได้มาก ถ้าสามารถดำเนินธุรกิจหลายชนิดในเวลาเดียวกันยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ สามารถดำเนินธุรกิจได้หลายประเภท ทั้งด้าน อาหาร เครื่องดื่ม สิ่งพิมพ์ การรับจ่ายเงินค่าบริการต่างๆ ฯลฯ เป็นต้น

            กรณีการแสดงความเห็นที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของท่านนายกฯ ในฐานะผู้บริหารประเทศนั้น อาจทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น และแสดงว่าคณะทำงานของท่านคงไม่ได้ให้ความรู้ด้านการบริหารแก่ท่านตามสมควร
 

แผนภูมิเกี่ยวกับ Economies of Scale
 


 

ที่มา: https://bit.ly/2q4VuHN

อ่าน 2,838 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved