สยามสแควร์ มรดกเซ้งลี้ของจอมพลประภาส
  AREA แถลง ฉบับที่ 396/2563: วันพฤหัสบดีที่ 09 กรกฎาคม 2563

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            เมื่อเร็วๆ นี้มีการอำลาของโรงภาพยนตร์สกาลา ที่สยามสแควร์ มีใครรู้บ้างว่าสยามสแควร์แห่งนี้คือมรดกการเซ้งลี้ที่จุฬาฯ ของจอมพลประภาส

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) กล่าวถึงสยามสแควร์ว่า “เป็นศูนย์การค้าเปิดโล่งแนวราบในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 63 ไร่ ตั้งอยู่บนหัวมุมถนนพญาไท และถนนพระรามที่ 1 อยู่ในความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” <1>

            สำหรับที่ดินบริเวณก่อนการสร้างสยามสแควร์ “ในช่วงปี พ.ศ. 2505 ที่ดินย่านนั้นเป็นสวนผัก เป็นชุมชนแออัด คงคล้ายชุมชนแออัดคลองเตย และชุมชนแออัดตรงข้ามวังสวนจิตรลา (กระทรวงการต่างประเทศ และมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ (ไม่ทราบว่าวางเพลิงหรือไหม้เอง) ชาวบ้านจึงต้องออกจากพื้นที่ และนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเจ้าของที่ดิน ก็มาช่วยกันคุมพื้นที่ไม่ให้ชาวบ้านกลับเข้ามา และในขณะนั้นอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือ พลเอก ประภาส จารุเสถียร มีแผนพัฒนาที่ดินบริเวณสยามสแควร์ให้เป็นแหล่งค้าขายเพื่อป้องกันการบุกรุกที่ดินของชุมชนแออัดที่อยู่อาศัยแต่เดิม” <2>

            ดังนั้น “ในปี พ.ศ. 2507 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ได้มอบหมายให้บริษัท เซาท์อีสท์เอเซียก่อสร้าง (ซีคอน) พัฒนาที่ดินขนาด 63 ไร่ ขึ้นเป็นศูนย์การค้าแนวราบ พื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอาคารพาณิชย์ สูง 3-4 ชั้น ชั้นล่างเป็นร้านค้า ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัยโดยมีรองศาสตราจารย์เลิศ อุรัสยนันท์ เป็นสถาปนิก และศาสตราจารย์รชฏ กาญจนวณิชย์ เป็นวิศวกร ก่อสร้างจำนวน 550 ห้อง มีโรงภาพยนตร์ โรงโบว์ลิ่ง มีไอซ์สเก็ตติ้ง เป็นศูนย์การค้าแนวราบที่ใหญ่สุดของประเทศไทยในขณะนั้น และเพิ่มเป็น 610 ห้อง ในเวลาต่อมา ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้สิทธิซีคอนเก็บผลประโยชน์จากผู้เช่าห้องแถว 10 ปี จากนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้เก็บผลประโยชน์ต่อ” <3>

            ตามข้อมูลกล่าวว่า “เดิมสยามสแควร์จะใช้ชื่อว่า ปทุมวันสแควร์ มีพลเอก ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น สยามสแควร์ และในขณะนั้นฝั่งตรงข้ามกำลังสร้างโรงแรมสยามอินเตอร์-คอนติเนนตัล (ปัจจุบันมีการทุบและก่อสร้างใหม่เป็นสยามพารากอน) และศูนย์การค้าที่สร้างใหม่ในบริเวณนั้น ก็ได้รับการตั้งชื่อให้สอดคล้องกัน คือ สยามเซ็นเตอร์ สำหรับโรงภาพยนตร์สกาลานั้น สถานที่ดังกล่าวเดิมจะทำเป็นไอซ์สเก็ตติ้ง แต่ภายหลังเปลี่ยนมาเป็นโรงภาพยนตร์แทน โดยมีกลุ่มเอเพ็กซ์ของพิสิษฐ์ ตันสัจจาเข้ามารับผิดชอบ ส่วนโรงโบว์ลิ่งได้กลุ่มเจริญรัชตะภาคย์ เครือโรงแรมเพรสิเด้นท์มาดำเนินการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ได้มีการรื้อโรงโบว์ลิ่งออก สร้างเป็นโรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์” <4>

            ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีที่ดินมหาศาล คงใช้ไม่หมด และมีพื้นที่ชายขอบ (แถวสยามสแควร์) ปล่อยร้างไว้จนกลายเป็นชุมชนแออัด  แต่โดยที่จอมพลประภาส จารุเสถียร ได้เป็นอธิการบดีเป็นเวลานาน (7 กันยายน 2506 - 26 มีนาคม 2512) <5> จึงได้ “เซ็งลี้” ที่ดินแปลงนี้มาจัดหาผลประโยชน์ แต่ในสมัยนั้นเป็นยุครัฐประหาร จึงไม่อาจตรวจสอบได้ว่ามีความโปร่งใสมากน้อยเพียงใด  แต่ก็ทำให้เกิดเป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง

            นี่แหละสยามสแควร์ จึงถือเป็นมรดกเซ้งลี้ของจอมพลประภาส

 

อ้างอิง

<1> Wikipedia. สยามสแควร์. https://bit.ly/31WbKeA

<2> ตามข้อ  <1>

<3> ตามข้อ  <1>

<4> ตามข้อ  <1>

<5> รายชื่ออธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://bit.ly/3gKpIEB

 

 

อ่าน 3,166 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved