English ร€ร’ร‰ร’รคยทร‚
ร‹ยนรฉร’รกรƒยก ร ยกร•รจร‚ร‡ยกร‘ยบร รƒร’ ยกร’รƒรƒร‘ยบรƒรยง รยงยครฌยกรƒร‡ร”ยชร’ยชร•ยพ รƒร’ยงร‡ร‘ร…ร ยกร•ร‚รƒยตร”ร‚รˆ ยคร‡ร’รรƒร‘ยบยผร”ยดยชรยบยตรจรรŠร‘ยงยคร ยกร”ยจยกรƒรƒร AREA ยคร“ยตรฉรยนรƒร‘ยบ
ทำเลรถไฟฟ้าสายสีแดง ย่านตลิ่งชันต่อเนื่องถนนนครอินทร์ (พระรามที่ 5)
ทิศทางตลาดที่อยู่อาศัย กลางปี พ.ศ.2550 และแนวโน้มอนาคต

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการ
อ.วสันต์ คงจันทร์ รองกรรมการผู้จัดการ
Agency for Real Estate Affairs

ในทุกครึ่งปี บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (AREA) จะนำเสนอถึงงานวิจัยทิศทางตลาดที่อยู่อาศัย และ ณ กลางปี 2550 นี้ ในวันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2550 จึงเป็นโอกาสดีที่ AREA จะได้นำเสนอผลการศึกษาสำคัญนี้

เพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทย
     การสำรวจวิจัยของ AREA นี้นับเป็นแหล่งข้อมูลเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ออกสำรวจข้อมูลภาคสนามถึงที่ตั้งโครงการทุกแห่งอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบัน AREA จึงเป็นแหล่งข้อมูลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสาระที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนด้านที่อยู่อาศัย อสังหาริมทรัพย์และการพัฒนานครอย่างมีประสิทธิผล
     การสำรวจของ AREA ครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ครบทั้ง 4 กลุ่มหลักคือ ที่อยู่อาศัย (บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ตึกแถว ห้องชุดและที่ดินจัดสรร) พาณิชยกรรม (อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า มินิออฟฟิศ) อุตสาหกรรม (นิคม/เขต/สวนอุตสาหกรรม มินิแฟคตอรี่) และการพักผ่อน (รีสอร์ท สวนเกษตร สนามกอล์ฟ) รวมทั้งหมด 20 ประเภท
     สำหรับพื้นที่ครอบคลุมคือทั่วประเทศ แต่สำหรับการสำรวจภาคสนามถึงที่ตั้งโครงการส่วนมากจะดำเนินการทุกแห่งในภาคมหานคร (9 จังหวัดหลัก อันได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 6 จังหวัด และบางส่วนของอยุธยา นครนายกและฉะเชิงเทรา) โดยจะสำรวจโครงการอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภทที่เกิดขึ้นใหม่ทุกแห่ง ซึ่งสมาชิกจะได้เห็นสภาพที่แท้จริงของโครงการในช่วงเปิดตัวใหม่ และนอกจากนี้สำหรับโครงการที่อยู่อาศัยทุกประเภทในภาคมหานคร (ซึ่งมีสัดส่วนถึง 70% ของอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ) ยังจะทำการสำรวจ-รายงานสถานการณ์การปีละ 2 ครั้งอีกด้วย
     ประโยชน์หลักที่ผู้ใช้งานวิจัยจะได้รับก็คือการวิเคราะห์สถานการณ์อย่างรอบด้านรายทำเล ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดถึง 78 ทำเล และแบ่งออกตามประเภทที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การวิเคราะห์เน้นหนักด้านอุปทาน การขาย หน่วยเหลือ อัตราการขาย ฯลฯ

การเปิดตัวโครงการใหม่
     ตลอดช่วงครึ่งปี 2550 มีโครงการอสังหาริมทรัพย์เกิดใหม่ทั้งหมด 183 โครงการ รวม 34,930 หน่วย รวมมูลค่าสูงถึง 82,394 ล้านบาท อย่างไรก็ตามที่อยู่อาศัยเป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทสำคัญที่มีการเปิดตัวใหม่มากที่สุดถึง 33,815 หน่วย รวมเป็นเงินสูงถึง 72,766 ล้านบาท หรือประมาณ 97% ของจำนวนอสังหาริมทรัพย์เกิดใหม่ทั้งหมด และหากเทียบเป็นมูลค่า ก็เท่ากับ 88% ของมูลค่ารวมที่มีการพัฒนาในปี 2549
     อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยเกิดมากกว่าในช่วงปี 2549 เสียอีก การที่อสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยก็เพราะเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีปริมาณความต้องการสูง และในอีกแง่หนึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอสังหาริมทรัพย์อื่นยังไม่ฟื้นตัวนัก แม้เวลาของช่วงวิกฤติ พ.ศ.2540 ได้ผ่านมาถึง 10 ปีแล้วก็ตาม
     สำหรับอสังหาริมทรัพย์อื่นมีมูลค่ารวมกันประมาณ 9,628 ล้านบาท ประกอบด้วย มินิแฟคตอรี่ บ้านพักตากอากาศ และอาคารชุดตากอากาศ

            ทรัพย์สินประเภทที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นมาในครึ่งแรกของปี 2550 มีจำนวนถึง 18,061 หน่วยที่มีคนจองซื้อไว้แล้ว จาก 33,815 หน่วยหรือประมาณ 53% ซึ่งนับว่าไม่น้อยที่สามารถขายได้ในห้วงเวลาที่ค่อนข้างซบเซาในปี 2550

โครงการรอเปิดตัว
     โครงการเหล่านี้ “ตั้งท่า” จะเปิด แต่ยังไม่ได้เปิด ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น ยังอยู่ระหว่างการเตรียมตัว เป็นต้น จากการสำรวจพบว่า ขณะนี้ยังมีรายชื่อโครงการประมาณ 110 แห่งที่กำลังรอเปิดตัวอยู่ ตัวเลขดังกล่าวค่อนข้างคงที่ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา แสดงว่ายังมีการเปิดตัวกันพอสมควร
     โครงการเหล่านี้ได้แก่ บ้านเดี่ยว 37 โครงการ, บ้านแฝด 3 โครงการ, ทาวน์เฮาส์ 18 โครงการ และห้องชุด 52 โครงการ (รวม 110 โครงการ) รายละเอียด รายชื่อเพิ่มเติมแสดงไว้ในภาคผนวก        คณะนักวิจัยเชื่อว่าตัวเลข 110 โครงการนั้นยังไม่สะท้อนภาวะล้นตลาด ยกเว้นในบางระดับราคาที่มีการแข่งขันกันสูงเป็นพิเศษ

สถานการณ์การขาย ณ กลางปี 2550
     ณ กลางปี 2550 จากการสำรวจโครงการทั้งหมด 1,276 โครงการ โดยมีโครงการ 820 โครงการที่มีหน่วยขายเกิน 20 หน่วย มีหน่วยขายในท้องตลาดที่รอผู้ซื้ออยู่ทั้งหมด 98,561 หน่วย หน่วยขายเหล่านี้ไม่ใช่ “ขายไม่ออก” แต่เป็น ณ เวลาดังกล่าว ยังไม่มีผู้ซื้อ อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวนี้เพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อกลางปีและปลายปีที่ผ่านมา พบอยู่ 84,058 หน่วย และ 92,462 หน่วย ตามลำดับ
     ท่านผู้ใช้ข้อมูลพึงตรวจสอบดูในรายละเอียดแต่ละทำเล โดยเฉพาะในทำเลที่ท่านอำนวยสินเชื่อ หรือ พัฒนาที่ดินอยู่ ว่าทำเลดังกล่าว มีภาวะล้นตลาดหรือไม่ มีอุปทานส่วนเกินมากไปหรือไม่ ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวปรากฏอยู่ในภาคผนวกท้ายรายงานนี้
     ในด้านราคาขายของทรัพย์สินพบว่า มีโครงการประมาณ 21% ที่ราคาขายขยับตัวสูงขึ้น ที่ลดลงก็มีถึง 10% ส่วนที่คงที่มีอยู่ 69% ในช่วงหลังมานี้ ราคาทรัพย์สินมีความผันผวนพอสมควร เพราะภาวะเศรษฐกิจไม่ดีนัก จึงจะส่งผลให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ชลอตัวไปบ้าง
     สำหรับการเปลี่ยนแปลงราคาของบ้านหลังเดิมจากตัวอย่างการสำรวจพบว่า ราคาบ้านเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ทรัพย์สินที่ราคาตกต่ำลงก็คือ ห้องชุดพักอาศัยราคาถูก ซึ่งมีมูลค่าลดลงมากที่สุด และการฟื้นตัวช้าที่สุด อันเป็นผลจากการมีอุปทานส่วนเกินในอดีตมากไปนั่นเอง ส่วนห้องชุดราคาแพง ราคาก็ลดลงเช่นกัน เนื่องจากมีความต้องการลดน้อยลง

ภาพรวมทั้งปี 2550
     ประมาณว่าปี 2550 จะมีหน่วยขายรวมกันทั้งปีประมาณ 67,630 หน่วย รวมมูลค่า 145,533 ล้านบาท หรือเฉลี่ยหน่วยละประมาณ 2.152 ล้านบาท อย่างไรก็ตามคาดว่าจำนวนหน่วยที่จะก่อสร้างเสร็จในปี 2550 นี้จะมีประมาณ 47,000 หน่วย ซึ่งแสดงว่ายังมีการเปิดตัวที่มากกว่าการสร้างเสร็จ

แชมป์ประจำปี
     บริษัทมหาชนครองส่วนแบ่งตลาด 44%  แต่มีจำนวนหน่วยรวมกันถึง 49% แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์อาจไม่ดีนัก ทำให้บริษัททั่วไปชลอการเปิดตัวออกไป ไม่ดำเนินการในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงนั่นเอง

บริษัทมหาชนที่มีการเปิดตัวสูงสุดแยกตามจำนวนหน่วยได้แก่

     สำหรับ 10 บริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ที่มีหน่วยขายสูงสุดได้แก่:

การคาดการณ์แนวโน้ม
     อนาคตของตลาดที่อยู่อาศัยขึ้นอยู่กับประเภท
     ประเภทที่มีอนาคตที่ดีได้แก่:
     1. บ้านเดี่ยวราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท
     2. ทาวน์เฮาส์ราคา 1-2 ล้านบาท
     3. ห้องขุดราคา 2-3 ล้านบาท

     ส่วนที่มีแนวโน้มไม่ได้นักได้แก่
     1. บ้านเดี่ยวราคา 5 ล้านบาทขึ้นไป
     2. ทาวน์เฮาส์ราคา 3-5 ล้านบาท
     3. ห้องชุดราคา 5 ล้านบาทขึ้นไป

โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐคืออัศวินตัวจริง
     การเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ  หรือแม้แต่โครงการรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ ที่เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา แม้เมื่อมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาลจะมีการหยุดชะงัก และเกิดความอึมครึมว่าจะดำเนินการต่อหรือไม่ ทำให้นักลงทุนหยุดชะงักไปด้วย  แต่เมื่อมีความชัดเจนในการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟฟ้าที่มีการเริ่มศึกษาความคุ้มค่าของการลงทุน  อีกหลายโครงการจัดการประมูลไปแล้ว  โครงการของกรุงเทพมหานครคือ รถเมล์ด่วนพิเศษ (BRT) ก็เริ่มลงทุนก่อสร้างแล้ว 
     โครงการเหล่านี้ ส่งผลให้นักลงทุนหันมาให้ความสนใจลงทุนในแนวก่อสร้างหรือส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้า  ทำให้ตลาดอาคารชุดในเมืองกลับมาคึกคักอีกครั้ง มีการเปิดตัวใหม่ในครึ่งแรกของปี 2550  ถึง 20,369 หน่วย  แต่การเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิมิได้สร้างความหวือหวาให้กับตลาดเท่าที่คาดการณ์กันไว้ก่อนหน้า อาจเป็นผลจากกฎหมายผังเมืองที่บังคับใช้ อีกทั้งโครงการสุวรรณภูมิมหานครที่ถูกล้มเลิกไป  ทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยในเขตบริเวณโดยรอบสุวรรณภูมิมีการขยับเขยื้อนกันน้อยมาก  การพัฒนาโครงการใหม่มีน้อยมาก  ผู้บริโภคต่างมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องมลภาวะทางเสียง
     โครงการรถไฟฟ้าเป็นอีกความหวังหนึ่งของทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ หากมีโครงการขนส่งมวลชนที่เป็นรถไฟฟ้าผ่านก็จะทำให้ผู้บริโภคให้ความสนใจ ผู้ประกอบการก็จะสามารถขายที่อยู่อาศัยได้ในราคาสูง  จากสถานการณ์ปัจจุบันพื้นที่ในเขตเมืองชั้นในไม่มีพื้นที่ว่างพอที่จะพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยประเภทบ้านพักอาศัย  มีพื้นที่เพียงแค่สร้างอาคารชุด ด้วยปัจจัยทั้งค่าที่ดิน ขนาดที่ดิน  ส่งผลให้โครงการบ้านพักอาศัยนั้นต้องขยายออกไปทางชานเมือง ขณะที่ยังต้องเดินทางเข้ามาทำงานในเมืองหากมีระบบขนส่งมวลชนที่รวดเร็วและสะดวกสบายก็น่าจะเป็นการดี  แต่จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่แน่นอน ทำให้รถไฟฟ้าหลายสายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมาต้องหยุดชะงัก  แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายรถไฟฟ้าหลายสายก็ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง  แต่จะเป็นสายใดที่จะได้เริ่มก่อสร้างก่อนนั้นคงต้องรอลุ้นกันต่อไป

รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน
     เป็นรถไฟฟ้าที่เป็นสายที่ดูแล้วน่าจะมีความหวังมากที่สุด  เพราะมีส่วนที่ต่อขยายจาก    อ่อนนุชไปถึงแบริ่ง กำลังดำเนินการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสแรกปี 2552   เมื่อพิจารณาจากแนวเส้นทางก่อสร้างช่วงอ่อนนุชจนถึงแบริ่ง มีนักลงทุนให้ความสนใจ เปิดตัวโครงการอาคารชุดหลายโครงการ อาทิ  เดอะลิงค์,  เดอะเซ้นท์, เมโทร อเวนิว, เดอะมิวส์,    ศุภาลัย ซิตี้โฮม ฯลฯ  ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างมาก  บางโครงการขายหมดภายใน 2-3 วันเท่านั้น  แสดงให้เห็นถึงความสนใจของผู้บริโภคที่เห็นความสำคัญของการเดินทางโดยระบบขนส่งมวลชน เพราะว่าผู้ที่จองอาคารชุดเหล่านี้ไว้ในขณะที่ก่อสร้าง ก็จะเสร็จพร้อมๆ กับโครงการรถไฟฟ้าสายนี้ก็จะได้ใช้ระบบขนส่งนี้เลย  
     เมื่อพิจารณาจากกฎหมายผังเมืองที่บังคับใช้เมื่อ พ.ศ.2549  พื้นที่ในส่วนต่อขยายช่วง   อ่อนนุช-แบริ่ง  ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สีส้ม คือเป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ย.๖ และ ย.๗  ซึ่งไม่มีข้อกำหนดในการสร้างที่อยู่อาศัยประเภทอาคารอยู่อาศัยรวม  หรือแม้แต่ที่อยู่อาศัยแบบอื่นๆ ก็มีข้อกำหนดน้อยมาก ไม่มีข้อห้ามเลย  ทำให้เป็นทำเลที่ได้รับความนิยมจากนักพัฒนาโครงการ จะเห็นจากโครงการอาคารชุดที่เกิดขึ้นมากมาย  อีกทั้งยังมีพื้นที่รอการพัฒนาเป็นโครงการลักษณะนี้อีกเป็นจำนวนมาก   มีเพียงบริเวณหน้าซอย สุขุมวิท 103  อุดมสุข  ที่ถูกกำหนดให้เป็นที่ดินประเภทพาณิชยกรรม แต่ก็ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการสร้างที่อยู่อาศัยเช่นเดียวกัน  

รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม
     การก่อสร้างส่วนต่อขยายจากรถไฟฟ้า BTS จากสถานีตากสินไปจนถึงบางหว้า ตอนนี้เป็นโครงการที่กรุงเทพมหานครโดย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน และสภาพกรุงเทพมหานครอนุมัติงบแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการ ภายในเดือนกันยายน 2550 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2553
     ช่วงรังสิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 13 กิโลเมตร กำหนดประกวดราคาเดือนธันวาคม 2550 คาดว่าจะแล้วเสร็จ มีนาคม 2554 แต่คาดว่ากำหนดอาจเลื่อนออกไป
     พิจารณาจากกฎหมายผังเมือง แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มนั้นคาบเกี่ยวกับพื้นที่หลายสี  แต่ที่น่าจะสดใสที่สุดคือบริเวณ โซน M2 วงแหวนบางแวก และ โซน K6 วงแหวนเพชรเกษม  ซึ่งเป็นเขตสีส้ม เป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหน้าแน่นปานกลาง  ย.๕ และ ย.๖ ไม่มีข้อห้ามมีเพียงข้อกำหนด ซึ่งไม่เป็นปัญหาสำหรับโครงการที่อยู่อาศัยที่จะพัฒนา ซึ่งปัจจุบันนักพัฒนาที่ดินได้ให้ความสนใจในพื้นที่ดังกล่าว มีโครงการก่อสร้างขึ้นใหม่ทั้งเป็น โครงการอาคารชุด  อย่าง เมโทร ปาร์ค  ซึ่งมียอดขายค่อนข้างสูง  อีกทั้งยังคงมีโครงการบ้านจัดสรร ที่เป็นบ้านเดี่ยวขนาดใหญ่ โดยมีแนวคิดว่าจะเป็นเขตที่อยู่อาศัยชั้นดีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมียอดขายที่ดีทีเดียว  

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
     เป็นสายที่อยู่ระหว่างดำเนินการกำหนดเขตเวนคืนที่ดิน หลังจากมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2550  โดยการประกวดราคาต้องรอให้รัฐบาลอนุมัติ จะเริ่มก่อสร้างเดือน มีนาคม 2552 แล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ 2556  รถไฟฟ้าสายนี้เกิดข้อพิพาท ขึ้นมากมายไม่ว่าจะเป็นการเวนคืนที่ดินที่ต้องผ่านย่านชุมชนเมืองที่เป็นพื้นที่การค้า อย่างถนนเยาวราช  อีกทั้งยังผ่านเกาะรัตนโกสินที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์ มีการคัดค้านอย่างมากจากนักอนุรักษ์  ทำให้ทาง รฟม. ต้องมาศึกษาถึงรายละเอียดและการแก้ไขหากเกิดข้อขัดข้อง ไม่สามารถสร้างตามเส้นทางที่วางไว้  ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานาน  ทำให้มีการคาดการณ์กันว่ากำหนดการต่างๆ อาจต้องล่าช้าออกไป
     พิจารณาถึงเรื่องกฎหมายผังเมือง  เมื่อดูตามแนวเส้นทางการเดินรถที่วางแผนไว้  เป็นเขตสีน้ำตาล  เขตสีน้ำตาลอ่อน  ที่เป็นเขตที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และที่ดินประเภทอนุรักษ์ เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ตามลำดับ  บางส่วนอยู่ในเขตสีแดง เป็นที่ดินประเภทพาณิชยกรรม ส่วนใหญ่พื้นที่ไม่มีที่ว่างสำหรับพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่แล้ว จึงไม่มีข้อห้ามใดๆ ในการสร้างที่อยู่อาศัย  มีเพียงแต่หากนักลงทุนต้องการที่จะทำการพัฒนาโครงการจะต้องทำการซื้อตึกแถวหรือห้องแถว แล้วทำการรื้อสร้างใหม่เป็นโครงการของตนเอง อย่างเช่น  Condo One โซโห ที่เป็นอาคารชุด 9 ชั้นที่พัฒนาขึ้นใหม่ ที่ ถ.ข้าวหลาม เขตป้อมปราบฯ  ก็เป็นการรื้อสร้างใหม่  ซึ่งก็ขายดีทีเดียว  

รถไฟฟ้าสายสีม่วง
     คาดว่าจะประกวดราคาภายในเดือนสิงหาคมนี้ แต่ว่ายังหาแหล่งเงินกู้ไม่ได้ แต่รัฐบาลมีทางออกอาจะนำเงินกู้ภายในประเทศ  ที่สภาพคล่องในตลาดพันธบัตรยังมีอยู่มาช่วยเหลือก่อน  แสดงว่าโอกาสที่จะได้ใช้ภายใน 5 ปีข้างหน้านี้ค่อนข้างเป็นไปได้ยาก
     รถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ผ่านมา ถูกใช้เป็นสิ่งจูงใจในการขายโครงการที่อยู่อาศัยในเขต จ.นนทบุรี  ทั้งๆ เป็นเพียงแค่แนวคิดของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา  ทำให้มีการปรับตัวขึ้นของราคาที่ดินแบบก้าวกระโดด ทำให้ที่อยู่อาศัยที่มีที่ดินเป็นต้นทุนด้วยราคาสูงตามไปด้วย
     แต่ขณะนี้โครงการรถไฟฟ้าสีม่วงนี้ ยังไม่มีความแน่นอนว่าจะมีทิศทางแบบไหน จะได้สร้างหรือจะสร้างเสร็จเมื่อไหร่ ยังไม่มีใครทราบ  ในเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองยังไม่แน่นอนรัฐบาลยังไม่อนุมัติการก่อสร้างโครงการ  โครงการที่ใช้รถไฟฟ้าสายนี้เป็นตัวจูงใจให้คนซื้อคงทยอยสร้างเสร็จและมีคนย้ายเข้าอยู่เพื่อรอรถไฟฟ้าว่าวันใดโครงการนี้จะเริ่มซักที
     พื้นที่บริเวณ จ. นนทบุรี ที่รถไฟฟ้านี้แล่นผ่านอยู่นอกเหนือจากพื้นที่ที่ประกาศใช้กฎหมาย ทำให้ไม่มีข้อห้ามใดๆ ที่จะเกิดจากผังเมือง  จึงเห็นได้ชัดว่ามีโครงการที่หลากหลายมาก แต่ทุกโครงการที่อยู่ในแนวรถไฟฟ้าที่รัฐบาลชุดก่อนวางแผนไว้  และปัจจุบันก็ยังมีการใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วงนี้เป็นตัวดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคอยู่  ทำให้ยอดขายยังคงอยู่ในระดับที่สูงอยู่ประกอบกับมีถนนสายใหม่ตัดผ่านด้วย

รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
     ตอนนี้ความคืบหน้าจะอยู่ที่  โครงการ Airport Link ที่เริ่มจากมักกะสัน-สุวรรณภูมิ มีการดำเนินการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ระบบโครงสร้างพื้นฐานก้าวหน้าไปมากแล้ว ติดปัญหาล่าช้าที่ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาช้า ทำให้ต้องล่าช้าออกไปจากกำหนดเดิมแต่คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดใช้ภายในปี 2552
     แนวรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนนี้ในช่วงแรกที่เป็น Airport Link เป็นการสร้างตามแนวรถไฟเดิม  ซึ่งคาบเกี่ยวในพื้นที่หลายสี  แต่ที่ทาง AREA ประเมินแล้วว่าในโซน G2 พัฒนาการ  และ G4 ศรีนครินทร์-อุดมสุข  ซึ่งเป็นเขตสีเหลือง หรือ ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ไม่มีข้อห้ามในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย แต่มีข้อกำหนดในเรื่องของขนาดถนน ตามแต่ประเภทของโครงการ 

รถไฟฟ้าสายสีส้ม รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม รถไฟฟ้าสายสีเหลือง รถไฟฟ้าสายสีชมพู 
     อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษา ถึงความเป็นไปได้ของโครงการโดยทีมที่ปรึกษา อาจมีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถ หรือประเภทของรถไฟฟ้า

 

ประวัติโดยย่อ ดร.โสภณ พรโชคชัย

ดร.โสภณ เป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สินและนักวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์และเมือง ได้รับวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาที่ดินและที่อยู่อาศัย จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ประกาศนียบัตรการพัฒนาที่อยู่อาศัย มหาวิทยาลัยคาธอลิกลูแวง เบลเยี่ยม และประกาศนียบัตรการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน สถาบันนโยบายที่ดินลินคอล์น

ตำแหน่งทางสังคม: ปัจจุบัน ดร.โสภณ เป็นประธานกรรมการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรด้าน อสังหาริมทรัพย์ที่มีบทบาทเข้มแข็งที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็นอุปนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์นานาชาติ (FIABCI-Thailand) เป็นผู้แทนในประเทศไทยของสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินนานาชาติ เป็นกรรมการหอการค้าไทยสาขาอสังหาริมทรัพย์ สมาคมการวางแผนและเคหะแห่งอาเซียน สมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งอาเซียน ชมรมนักธุรกิจเพื่อสังคม (SVN) นอกจากนี้ยังเป็นที่ปรึกษาสถาบันประเมินค่าทรัพย์สินสหรัฐอเมริกาโดยสภาคองเกรส (Appraisal Foundation) สมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย และสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย

การบริหารวิสาหกิจเอกชน: ดร.โสภณ เป็น ประธานกรรมการ บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูล วิจัยและประเมินค่าทรัพย์สินที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และเป็นวิสาหกิจที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับ ISO 9001 ทุกระบบงานแห่งแรกและเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ทั้งยังเป็นองค์กรที่ลงนามธรรมาภิบาล (Global Compact) ขององค์การสหประชาชาติ นอกจากนี้ ดร.โสภณ ยังเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการและเป็นสถาบันจัดการศึกษาระดับนานาชาติด้านอสังหาริมทรัพย์

ผลงาน: ดร.โสภณ เคยเป็นผู้เชี่ยวชาญในโครงการของ ESCAP, UN-Habitat, ADB, World Bank, FAO และ ILO ผลงานสำคัญได้แก่ การค้นพบชุมชนแออัด 1,020 แห่งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2528), การสร้างแบบจำลอง Computer-assisted Mass Appraisal (CAMA) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย (2533), การพยากรณ์บ้านว่างอย่างถูกต้อง (2538 และ 2541), การศึกษาเพื่อจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ (2543), การสร้างแบบจำลอง CAMA เมือง-ชนบท (2545), การวางแผนการพัฒนาวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินเวียตนาม (2548)

สาขาที่เกี่ยวข้อง: มีงานเขียน งานวิจัย หนังสือและบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และการบรรยายตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศทางด้านการประเมินค่าทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์ การพัฒนาเมือง ความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กรธุรกิจ (corporate social responsibility) เป็นสำคัญ


 
บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด 10 ถ.นนทรี กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ 66-2295-3905 โทรสาร 66-2295-1154