เรื่องเท็จ: วิกลิเกแห่งแรก ดรามาป้อมมหากาฬ
  AREA แถลง ฉบับที่ 369/2559: วันศุกร์ที่ 23 กันยายน 2559

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            วันนี้ ผมขอมาพูดในแง่วิชาประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ลิเก ที่ถูกท่านสุจิตต์ วงษ์เทศ นำมาบอกเล่าว่าคณะลิเกแห่งแรกนี้อยู่ที่ "ชุมชนป้อมมหากาฬ" เรามาพิสูจน์ความจริงเท็จกัน ผู้บุกรุกผิดกฎหมายจำนวนมาก นำมาอ้างเพื่อไม่ต้องการย้ายออกจากป้อมมหากาฬ ความจริง "ป้อมมหากาฬ" ไม่ใช่ชุมชนเก่า อย่านำมาอ้าง ต้องรื้อด่วน พร้อมตัวอย่าง "เมรุปูน" ของเก่าแท้ที่ยังถูกรื้อไปนานแล้ว!

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ขอชวนถกและ "กระซวก" ทางความคิดกับ "นักประวัติศาสตร์" เช่น "นายสุจิตต์ วงศ์เทศ" ได้เขียนไว้ว่า "ชุมชนป้อมมหากาฬจะมีได้อย่างไร เพราะมันเป็นชื่อใหม่ที่เพิ่งเรียกกันภายหลัง แต่เดิมนั้น รู้จักกันในชื่อ “ตรอกพระยาเพชร” เพราะเป็นที่ตั้งของวิกลิเกแห่งแรกในกรุงเทพฯ ยุครัชกาลที่ 5 ของพระยาเพชรปาณี" (http://bit.ly/2cxvE5B) นอกจากนี้ในมติชน 22 กันยายน 2559 ยังเขียนว่า "'ป้อมมหากาฬ' ฟื้นวิกพระยาเพชรปาณี ยุค ร.5 “บุญสืบ” ลิเกดังอาสาโชว์อาทิตย์ 25 ก.ย.นี้" (http://bit.ly/2cVO9jb) ซึ่งจะเป็นเท็จหรือไม่ ลองพิจารณาดู

รูปภาพลิเกพระยาเพชรปาณี แต่โปรดสังเกต ภาพเขียนว่าวัดสระเกศ ไม่ใช่วัดราชนัดดา

ที่มาของภาพ: http://www.matichon.co.th/news/112239

            ตามภาพข้างต้น มีการอ้างอิงว่าถ่ายในที่ตั้งด้านหลังของป้อมมหากาฬ แต่จนบัดนี้ ก็ไม่มีใครทราบที่ตั้งที่แน่ชัดในชุมชนนั้น กรณีนี้อาจเป็นแค่คำบอกเล่าที่ไม่มีความเป็นจริง ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ในภาพเขียนไว้ชัดเจนว่าวัดสระเกศ ถ้าวิกลิเกนี้อยู่หลังป้อมมหากาฬจริง ก็น่าจะเขียนว่าวัดราชนัดดา ซึ่งสร้างในปี 2389 (http://bit.ly/2dnR5Yq) ก่อนที่อ้างว่ามีวิกลิเกในบริเวณนี้ถึง 51 ปี พวกต่อต้านการรื้อย้ายผู้บุกรุกมักอ้างว่านี่เป็นจุดแข็งของชุมชน ผมจึงจะนำหลักฐานอื่นมาหักล้างให้ชม

            ในโฉนดหรือเอกสารสิทธิ์ที่มีให้กันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นั้น ก็ไม่เคยมีชื่อพระยาเพชรปาณีเป็นเจ้าของที่ดินแต่อย่างใด นายศักดิ์ชัย บุญมา ผู้อำนวยการกองจัดกรรมสิทธิ์ สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ก็ยืนยันว่า คณะลิเกวิกนี้ แต่เดิมอยู่อีกที่หนึ่ง แต่เนื่องจากทะเลาะกับคณะงิ้ว จึงได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่ดินของวัดราชนัดดา ซึ่งไม่ใช่เป็นที่ตั้งของชุมชนในปัจจุบัน


รูปนี้มีคำบรรยายว่า "กรุงเทพฯมุมสูง มองเห็นเสาชิงช้า วัดสุทัศน์ ถัดมาด้านหน้าเป็นวัดราชนัดดา วัดเทพธิดาราม และแนวใบเสมากำแพงเมืองที่ทอดยาวต่อเนื่องถึงป้อมมหากาฬ อันเป็นที่ตั้งของชุมชนชานกำแพงพระนคร (ภาพโปสการ์ดสมัย ร.6 พ.ศ.2462 ของสินชัย เลิศโกวิทย์)"
ที่มาของภาพ: http://www.matichon.co.th/news/112239

 


ภาพโปสการ์ดข้างต้น คงเป็นบริเวณสถานีบริการน้ำมันปัจจุบัน และร้านผัดไทย "ทิพย์สมัย" (ประตูผี) อาคารรูปคล้ายโรงลิเก น่าจะอยู่บริเวณติดถนนมหาไชยในปัจจุบัน

 


ที่ตั้งวิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร (เมรุปูนวัดสระเกศในอดีต) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัดสระเกศ แต่ถูกถนนบำรุงเมืองผ่าออกเป็น 2 ส่วน

            ประเด็นสำคัญที่ไม่อาจนำมาอ้างเรื่องอาคารเก่าได้ก็คือ การกลับไปดูประวัติศาสตร์ของ "เมรุปูนวัดสระเกศ" ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 "เพื่อใช้สำหรับพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านาย และศพข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่มีการก่อสร้างอย่างปราณีตสมบูรณ์ยิ่งกว่าเมรุปูนของวัดอรุณราชวราราม และวัดสุวรรณาราม. . .มีสิ่งก่อสร้างบริเวณรอบเมรุ เช่น พลับพลา โรงธรรม โรงครัว โรงมหรสพ ตลอดจนพุ่มกัลปพฤกษ์ และระทา (หอสี่เหลี่ยมทรงยอดเกี้ยว ใช้สำหรับจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ในพิธี) ซึ่งสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ล้วนทำด้วยการก่ออิฐถือปูนทั้งสิ้น. . .(ต่อมา ร.5). . .ให้ตัดถนนบำรุงเมือง. . .ทำให้กุฎีวัดสระเกศกับบริเวณเมรุปูนแยกออกจากกันคนละฝั่งถนน. . . (ต่อมา) ได้ยุบเลิก เมรุปูน. . .วัดสระเกศก็ได้มอบสถานที่นั้นให้เป็นที่ตั้งของ “โรงเรียนช่างไม้วัดสระเกศ” และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ จึงมอบพิ้นที่นี้ต่อให้กับกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งขึ้นเป็น ”โรงเรียนสารพัดช่างพระนคร” และยกวิทยฐานะเป็น “วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร” จนปัจจุบัน (http://bit.ly/2d1ppEz)


ภาพนี้คือแยกเมรปูน: http://krooair.blogspot.com/2011/05/blog-post.html
 


ภาพนี้คือเมรุปูนวัดสระเกศ: http://bangpakongramsar.blogspot.com/2014/10/blog-post_92.html#

 


ภาพระทาดอกไม้และโรงรำ http://bangpakongramsar.blogspot.com/2014/10/blog-post_92.html#
 

            บริเวณเมรุนี้ "ในอดีต ก็เคยใช้เป็นแหล่งพักผ่อน ของคนไทยในสมัยนั้น เพื่อชมมหรสพ จึงมีการเรียกสถานที่แห่งนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “วิกเมรุปูน” นอกจากนั้นยังมีการนำของกินของใช้มาจำหน่ายให้กับผู้คนที่เข้ามาดู โขน ลิเก ละคร หุ่นกระบอก" (http://bit.ly/2cs88bB) ดังนั้นที่ว่าวิกลิเกแห่งแรกอยู่ที่หลังกำแพงเมืองในที่ดินของวัดราชนัดดา ซึ่งเป็นสถานที่ปิดแบบนั้น จึงน่าจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเสียแล้ว

            จะเห็นได้ว่าในความจำเป็นต้องเวนคืน ต้องตัดถนนบำรุงเมืองเพื่อการพัฒนาเมือง แม้แต่วัดสระเกศยัง "ไม่รอด" ยังต้องถูกตัดออกเป็นสองส่วน และขนาด "เมรุปูนวัดสระเกศ" ที่สร้างขึ้นมาใช้เพื่อใช้ในพิธีพระราชทานเพลิงศพเจ้านายก็ยังเลิกไปแล้ว และจะนับประสาอะไรกับ "วิกลิเกพระยาเพชรปาณี" ซึ่งไม่ได้อยู่ในชุมชน แต่น่าจะอยู่ใกล้ "ประตูผี" ทำไมจะย้ายไม่ได้ ทำไมกลับนำมาอ้างโดยไม่มีมูล และไม่เคยมีโฉนดที่ดินฉบับใดเป็นของพระยาเพชรปาณีเลย และยิ่งกว่านั้นการตั้งวิกลิเก ก็เป็นสิ่งชั่วคราว จะนำมา "ตู่" เพื่อจะหาทางไม่ยอมย้าย ทั้งที่ผิดกฎหมายไมได้เลย

            ชุมชนประวัติศาสตร์ที่แท้ เช่น ชุมชนบ้านบุ ชุมชนบ้านช่างหล่อ ชุมชนบ้านครัว เป็นชุมชนที่อยู่สืบต่อกันมาสองร้อยปีตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน ไม่ใช่ชุมชนบุกรุกเข้ามาอยู่อาศัยใหม่ ไม่ใช่ชุมชนที่เพิ่งเกิดขึ้น วิถีชีวิตของชาวชุมชนก็เปลี่ยนไปแล้ว ไม่ (เคย) มีวิกลิเก ไม่มีการเลี้ยงนกสืบต่อกันมายาวนานดังอ้าง เพราะบ้านเลี้ยงนกแต่เดิมเป็นของคนจีน ไม่มีบ้าน ดร.ป๋วย ดังที่มีการอ้างส่งเดชแต่อย่างใด (http://bit.ly/2cEJG31)

          อย่าอ้างประวัติศาสตร์ที่ไม่จริง ที่ผ่านมา วัดวาอาราม เจดีย์ วัง บ้านเรือนคหบดีใหญ่โตก็ต้องถูกเวนคืนเพื่อการพัฒนาเมืองทั้งสิ้น (http://bit.ly/1NhEq1X) อย่าอ้างเข้าข้างผลประโยชน์ของตนเองเลย

ประมวลภาพถ่ายที่เกี่ยวข้อง
1. แผนที่แสดงที่ตั้งของวัดวัดวังก์วิเวการามหลังเก่า www.kanchanaburi.com/travel3.htm

 

2. แผนที่ google แสดงที่ตั้งของวัดวัดวังก์วิเวการามหลังเก่า (จุด A) เทียบกับที่ตั้งของวัดปัจจุบัน

 

3. ภาพวัดถ่ายจากใต้น้ำ จากเว็บ:
http://bbs.playpark.com/topic/14407-อ-สังขละบุรี-จกาญจนบุรี

 

4. หอระฆังที่โผล่พ้นน้ำ สังขละบุรี จากเว็บ:
www.thaigogenius.com/tourist-attractions/item/3330-sangkraburi.html

 

5. อาคารโบสถ์ในช่วงหน้าน้ำที่มีนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวมากมาย: จากเว็บ:
www.thaigogenius.com/tourist-attractions/item/3330-sangkraburi.html

 

6. อาคารโบสถ์และหอระฆังในช่วงที่โผล่พ้นน้ำ สังขละบุรี:
www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000086550

 

7. แผนที่ตั้งวัดห้วยต้าใกล้บริเวณที่มีโบสถ์จมอยู่ใต้น้ำเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์

 

8. สภาพโบสถ์เดิม บริเวณอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ จากเว็บ:
http://www.posttoday.com/กทม.-ภูมิภาค/ภาคเหนือ/234444/เขื่อนสิริกิติ์แห้งขอดจนเห็นวัดเก่าที่จมน้ำ

 

9. ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ถูกน้ำท่วมไปในเขื่อนสิริกิติ์ จากเว็บ:
http://news.mthai.com/general-news/255898.html

อ่าน 4,486 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved