วิธีการแบ่งมรดก
  AREA แถลง ฉบับที่ 577/2564: วันพุธที่ 11 สิงหาคม 2564

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            เราจะแบ่งมรดกอย่างเป็นธรรมได้อย่างไร เราต้องรู้ค่าของทรัพย์สินแต่ละชิ้นให้ชัดเจนแล้วจึงจะได้แบ่งอย่างเป็นธรรม  หรือในที่ดินชิ้นเดียวกัน จะแบ่งออกอย่างไรให้เป็นธรรม  หากต้องการแบ่งแยกมรดกอย่างเป็นธรรมจริงๆ ปรึกษา ดร.โสภณ

            วิธีการแบ่งมรดกตามกฎหมาย มีผู้รู้เขียนไว้มากมาย บ้างก็มีอ้างอิงรุงรังไปหมด ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ในฐานะผู้ประเมินค่าทรัพย์สินเพื่อการแบ่งแยกมรดก จึงขอนำเอาข้อเขียนง่ายๆ ชัดๆ จาก อบต.ลำไทร (https://cutt.ly/BQsqXVC) มาให้ทุกท่านได้อ่านดู

            โดยหลักแล้วเมื่อเจ้ามรดกตาย ปัญหาที่มีอยู่เสมอคือการแบ่งมรดกของเจ้ามรดกให้แก่ทายาท        ทายาทได้แก่ใครบ้าง            สำหรับทายาทของผู้ตายนี้ มิได้กำหนดไว้ว่ามีใครบ้าง ก็ต้องมองดูจากเจ้ามรดกไปเริ่ม จากญาติใกล้ตัวเจ้ามรดกไปจนถึงห่างออกไป และก็รวมถึงคู่สมรสของเจ้ามรดกด้วย หรือเจ้า มรดกจะทำเป็นหนังสือกำหนดว่าเมื่อตายลงแล้ว ให้มรดกของตนตกได้แก่ใครก็ได้ ฉะนั้นจึง แบ่งทายาทออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

            1. ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย หมายความว่าพวกนี้กฎหมายกำหนดเลยว่าได้แก่ใครบ้าง เช่น บุตรของผู้ตาย บิดามารดาของผู้ตาย คู่สมรสของ ผู้ตาย พวกนี้พอเจ้ามรดกตายปุ๊บก็ได้ปั๊บทันทีดังที่กล่าวแล้ว ทายาทประเภทนี้เรียกกันว่าทายาท โดยธรรม ซึ่งประกอบด้วยทายาทที่เป็นญาติ เช่น ผู้สืบสันดานอันได้แก่บุตรของผู้ตายเป็นต้น และทายาทที่เป็นคู่สมรสคือภริยาหรือสามีของผู้ตาย

            2. ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม คือเป็นเรื่องของผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ซึ่งอาจเป็นคนอื่นก็ได้คือจะทำยกให้ใครแม้ไม่ใช่ญาติของตนก็ได้ เรียกทายาทประเภทนี้กันว่าผู้รับพินัยกรรม ได้แก่ ญาติของผู้ตายต่อไปนี้เรียงลำดับกันจากใกล้ชิดสนิทที่สุดตามลำดับคือ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ย่าตายาย และ ลุงป้าน้าอา

            ส่วนทายาทที่เป็นคู่สมรสยิ่งง่ายใหญ่ คือ สามีหรือภริยาของผู้ตายนั้นเอง ทายาทประเภท นี้ถือว่าอยู่ในลำดับเดียวกับทายาทที่เป็นญาติทุกลำดับ คือ มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายตลอด เช่น ขณะนาย ก. ตาย มีลูกสองคน และมีนางแดงเป็นภริยา ถือว่าผู้ตายมีทายาทโดยธรรม คือลูก สองคนและนางแดงภริยาผู้ตายมีสิทธิได้รับมรดก หรือขณะที่นาย ก.ตายมีทายาท ลำดับที่ 6 คือ ลุง ป้า น้า อา ของผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ และมีนางแดงภริยายังมีชีวิตอยู่ฉะนั้นทายาทของผู้ตาย ได้แก่ ลุง ป้า น้า อา และนางแดง ภริยาซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกแต่กรณีหลังนี้นางแดงก็จะได้ส่วนแบ่งมากขึ้นเท่านั้น

            การแบ่งมรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมแบบง่ายๆ ทำอย่างไร เรื่องการแบ่งมรดกก็ดีหรือใครเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในมรดกนี้ก็ดี หากใครรู้ว่า ตนมีสิทธิหรือไม่เพียงใด ก็จะเป็นการดี ถ้ารู้ว่าไม่มีสิทธิแล้วก็จะได้ชิดซ้ายไปไม่มายุ่งกับเขา หรือผู้มีสิทธิถ้ารู้ว่าตนจะได้แบ่งเท่าใดก็ได้อีกเช่นกัน ไม่ต้องมาแย่งชิงกัน หรือไม่ใช่เลือกเอา แต่ของดีๆ เช่น จะเอาบ้านหลังนั้นบ้างละ ที่ดินแปลงโน่นบ้างละ ซึ่งโดยแท้ที่จริงแล้วทายาทที่ มีสิทธิทุกคนถือว่าเป็นเจ้าของมรดกร่วมกันทุกชิ้น แม้เข็มเล่มเดียวของเจ้ามรดก ทายาทก็เป็น เจ้าของร่วมกันจนกว่าจะได้แบ่งปนกันแล้วเสร็จ จึงจะถือว่าที่แบ่งให้ใครไปแล้วเป็นของคนนั้น

            ทายาทใดได้รับส่วนแบ่งอย่างไรหากทั้ง 6 ลำดับของทายาทโดยธรรมยังมีชีวิตอยู่ ก็ใช่ว่าจะมีสิทธิรับมรดกทุกคนไม่ เพียงแต่อยู่ในข่ายหรือเป็น ทายาทที่อยู่ใกล้ตัวเจ้ามรดกหน่อยเท่านั้น เรียกว่าพอมีความหวังหรือได้ลุ้นบ้าง ถ้าหากให้มีสิทธิพร้อมกันทั้ง 6 ลำดับ แบ่งเสร็จสรรพก็อาจได้คนละหกสลึงเท่านั้น จึงสำทับไปอีกว่า ทายาทที่อยู่ลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย  ถ้าขณะตายเจ้ามรดกเป็นโสดมีแต่พ่อแม่ (อันดับสอง) และพี่น้องร่วมบิดามารดา เดียวกัน (อันดับสาม)เช่นนี้ ผู้ได้รับมรดกก็คือพ่อแม่เท่านั้น ทายาทอันดับถัด ลงไป คือ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันนั้นไม่มีสิทธิ จำง่ายๆ มีอันดับสองแล้วอันดับถัดไปคือ สามก็ไม่มีสิทธิหรือมีอันดับสามแล้ว อันดับถัดไปคือสี่ไม่มีสิทธิไล่กันไปเรื่อยๆ

            ทายาทชั้นใดได้รับมรดก นอกจากลำดับทายาทของเจ้ามรดก ก็ยังมีชั้นของทายาทอีก อันนี้ก็มีปัญหาเหมือนกัน คือทายาทลำดับหนึ่งได้แก่ผู้สืบสันดานของเจ้ามรดกนั่นเอง แต่ผู้สืบสันดานก็ประกอบด้วย ลูก หลาน เหลน ลื้อ ของเจ้ามรดกมีตั้งหลายชั้น คำว่าผู้สืบสันดานนั้น มีทั้งชั้นลูกของตัว ชั้นหลาน ชั้นเหลน ชั้นลื้อ อีก เรื่องนี้มีข้อสงสัยกันอยู่ เพราะอันดับอื่นๆ ก็คงไม่ต้องสงสัยความจริง ในเรื่องนี้ท่านขยายความเรื่องผู้สืบสันดานไว้ว่า ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันบุตรของเจ้า มรดกชั้นสนิทที่สุดมีสิทธิรับมรดก ส่วนผู้สืบสันดานชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัย สิทธิในการรับมรดกแทนที่ ผู้สืบสันดานชั้นลูกเท่านั้นมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก ส่วนชั้นหลานเหลนมีสิทธิก็เพียงแต่จะรับมรดกแทนที่เท่านั้น

            สำหรับส่วนแบ่งนั้นถ้าลำดับใดมีสิทธิได้รับมรดกก็ได้เท่ากัน เช่น เจ้ามรดกมี ผู้สืบสันดานชั้นลูกห้าคนก็ได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ในเรื่องทายาทอันดับหนึ่งและอันดับสองนั้น คือ ลูกของเจ้ามรดกกับพ่อแม่ของเจ้ามรดก ในการแบ่งมรดกก็ให้พ่อแม่ได้รับส่วนแบ่งเหมือน เป็นลูกไม่ใช่ให้พ่อแม่เป็นลูกเจ้ามรดกนะครับอย่าเพิ่งโกรธพาลน้อยอกน้อยใจไม่รับมรดกลูก เสียล่ะก็หมายความว่าได้รับส่วนแบ่งมรดก ดังนี้ พ่อคนหนึ่งเท่ากับลูกคนหนึ่ง แม่คนหนึ่ง เท่ากับลูกคนหนึ่ง เช่น ก.เจ้ามรดกมีลูก 3 คน พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ ขณะ ก. ตายมีเงิน 500,000 บาท ดังนั้น ทั้งลูกทั้งพ่อแม่เจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกโดยมีส่วนแบ่งเท่ากัน ลูก 3 ส่วน พ่อแม่ถือเป็นลูกได้ 2 ส่วน รวม 5 ส่วน แบ่งแล้วส่วนละ 100,000 บาท ก็ได้คนละแสนบาท

            ทายาทที่เป็นคู่สมรสคือสามีหรือภริยาได้รับส่วนแบ่งอย่างไร โดยทางฝ่ายคู่สมรสคือสามีหรือภริยาของเจ้ามรดกบ้าง มีสิทธิได้รับกับเขาบ้างไหม แค่ไหน เพียงไร ไม่น่าถามเลย ล้าไม่ได้ก็บ้านแตกแน่ โดยเฉพาะภริยายังไงก็ต้องได้แน่ๆ ทางฝ่ายคู่สมรส นี้จะได้มากขึ้นเรื่อยๆ ทีเดียวแหละ ดูตามแผนผังจะเห็นได้ชัดทีเดียว ดือถ้าเจ้ามรดกตายยังมีลูกอยู่ หรือหลานแทนที่ลูกอยู่ และคู่สมรสซึ่งอาจเป็นสามีหรือภริยายังมีชีวิตอยู่ ท่านว่าให้ถือว่า เป็นลูกนั่นเอง เช่น สามีตาย ขณะตายมีลูก 2 คน และภริยาดังนี้ มรดกก็แบ่งเป็น3 ส่วน ลูกได้ คนละส่วน ภริยาก็ได้ไปอีกส่วนหนึ่ง เป็นต้น คู่สมรสอย่าไปตกอกตกใจว่าได้น้อย เพราะท่าน ได้ในฐานะเป็นสินสมรสมาครึ่งหนึ่งแล้ว ที่เอามาแบ่งนี้เป็นมรดก หรือส่วนของสามีหรือภริยาท่านเท่านั้น ทีนี้ถ้าขณะเจ้ามรดกตาย เจ้ามรดกมีลูก 2คน พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ สามีหรือภริยาเจ้ามรดกมีชีวิตอยู่ ดังนี้ ทายาทเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกก็ได้แก่ลูก 2 คน พ่อแม่เจ้ามรดก สามีหรือ ภริยาเจ้ามรดก

            ฉะนั้น เมื่อมีลูกอยู่ให้ถือว่าพ่อแม่หรือสามีหรือภริยาของเจ้ามรดกได้รับส่วนแบ่งเหมือน ลูก ก็เรียกกันง่ายๆ ว่าได้เท่ากับลูก เป็นอันว่าลูก 2 คน ก็สองส่วน พ่อแม่รวม 2 คน ก็สองส่วน ภริยาหรือสามีก็หนึ่งส่วน รวมเป็น 5 ส่วน ฉะนั้น ถ้าเจ้ามรดกมีทรัพย์สินตีเป็นเงิน 500,000บาท ก็ได้ไปคนละแสนบาท ทีนี้ถ้าเจ้ามรดกยังไม่มีลูกเลยแต่มีพ่อแม่อยู่และสามีหรือภริยาอยู่ ดังนี้ สามีหรือภริยาเจ้ามรดกได้มากขึ้น คือได้ครึ่งหนึ่งของกองมรดกเลย ส่วนที่เหลือครึ่งหนึ่งก็ ได้แก่ พ่อแม่ของเจ้ามรดก เช่น ขณะตายมีทรัพย์สินเป็นเงิน 1,000,000บาท ก็แบ่งให้สามีหรือ ภริยาของเจ้ามรดกไปก่อนครึ่งหนึ่งคือ 500,000 บาท อีกครึ่งหนึ่งคือ 500,000 บาท ก็ให้พ่อแม่ ของเจ้ามรดกไป

            จะเห็นว่าสามีหรือภริยาของผู้ตายนั้นจะได้มากขึ้นเรื่อยๆ และถ้าหากเจ้ามรดกมีทายาท ห่างๆ ออกไป เช่น อันดับ 4 พี่น้องร่วมแต่บิดามารดาของเจ้ามรดก หรืออันดับ 5 ปู่ย่า ตา ยาย ของเจ้ามรดก หรืออันดับ 6 สุดท้าย ลุง ฟ้า น้า อา ของเจ้ามรดก แล้วสามีหรือภริยาของเจ้ามรดก จะได้ถึงสองในสามส่วน เช่น ขณะเจ้ามรดกตายมีทายาทที่เป็นญาติได้แก่ ลุง ป้า น้า อา ของเจ้า มรดกนั้น และมีสามีภริยาของเจ้ามรดกซึ่งเป็นทายาทที่เป็นคู่สมรส ถ้าเจ้ามรดกมีทรัพย์สินคิด เป็นเงิน 300,000 บาท คู่สมรสก็เอาไปสองในสามส่วนคือเอาไป 200,000 บาทอีกหนึ่งในสาม ส่วน คือ 100,000บาท ก็ให้ลุง ป้า น้า อาไป ถ้ามีอยู่สี่ท่านดังกล่าวก็ได้ไปคนละ 25,000บาท เป็นต้น

            เรียกว่า สามีภริยาได้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็น่าจะชอบด้วยเหตุผล ผัวเมียขืนได้น้อยกว่าก็แย่นะ สิ ว่ากันจริงๆ แล้วที่เราท่านพบกันอยู่เสมอๆ ผู้ที่จะได้ส่วนแบ่งมรดกก็คือบุตรกับสามีหรือ ภริยาเจ้ามรดกเท่านั้น ส่วนพ่อแม่เจ้ามรดกก็อาจตายไปก่อนแล้ว แต่แม้มีชีวิตอยู่ท่านก็ไม่เอา ด้วย ให้หลานๆ ไปก็เป็นสิทธิของท่าน แต่จะยุ่งยากมากก็กรณีเจ้ามรดกที่เป็นชายไปเที่ยวมี ลูกอยู่ทั่วบ้านทั่วเมือง ไปอยู่จังหวัดไหนก็ไปมีภริยาน้อยไว้ที่นั่นจนมีลูกด้วยกัน พอตายลงก็แห่ กันมาเผาศพ ทำเอาภริยาแท้จริงของเจ้ามรดกดีอกดีใจว่าผู้ตายช่างมีพรรคพวกมากมายจริงๆ มี บุญญาธิการเหลือเกิน ที่ไหนได้ปรากฏว่าเป็นภริยาน้อยซึ่งเป็นการเรียกกันทั่วๆไป ความจริง แล้วภริยาประเภทนี้เรียกกันว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะตามกฎหมายของเรานั้นบังคับให้มีผัว เดียวเมียเดียวเท่านั้น คือที่ต้องไปจดทะเบียนสมรสนั่นเอง

            ฉะนั้น ประเภทนี้ไม่มีสิทธิได้มรดก ของสามี ส่วนใหญ่เขาก็ไม่อยากได้หรอกครับ เพราะเจ้ามรดกขนมาให้มากแล้วตั้งแต่ครั้งยังมี ชีวิตอยู่ แหวนเพชรเอย ตุ้มหูเพชรเอย สร้อยมุกเอย บ้านเอย ที่ดินเอย ฯลฯ อะไรต่อมิอะไร เรียบร้อยแล้ว อมยิ้มลูกเดียว แต่ส่งลูกมาประกบขอแบ่งด้วย ยังมีสิทธิลุ้นครับประเภทนี้ก็คือลูก นอกกฎหมายนั่นเอง แต่เจ้ามรดกรับรอง เช่น ส่งเสียให้ค่าเล่าเรียนแสดงออกให้ปรากฏว่าเป็น บุตรเช่นเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ระบุไว้ในใบเกิดว่าเป็นบิดาหรือระบุไว้ในสำเนา ทะเบียนบ้านว่าเป็นบิดา เป็นต้น ลูกพวกนี้มีสิทธิรับมรดกเช่นกัน ก็น่าเห็นใจลูก ไม่รู้อิ โหน่อิเหน่อะไรหลงโคจรมาเกิดเช่นนี้ ที่ว่ารับรองในที่นี้ก็มิใช่ว่าไปจดทะเบียนรับรองว่าเป็น

บุตรที่อำเภอ ถ้าอย่างนั้นเขามีสิทธิได้รับมรดกเต็มที่อยู่แล้ว การรับรองที่กล่าวถึงคือการ แสดงออกโดยพฤติการณ์ทั่วไปของชาวบ้านเรานี้เองว่าเป็นลูก พูดแล้วก็น่าเห็นใจเกิดมาเป็น ข้าวนอกนาก็อย่างนี้แหละ

            นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ข้อเขียนของทาง อบต.ลำไทร อย่างไรก็ตามประเด็นสำคัญที่เราต้องพิจารณาก็คือ เราจะแบ่งอย่างเป็นธรรมอย่างธรรม เช่น ถ้ามีที่ดินแปลงหนึ่งกว้าง 40 เมตร แต่ละ 160 เมตร หรือเท่ากับ 4 ไร่ ถ้าเราแบ่งขนาดเท่าๆ กัน 1 ไร่ จากหน้าไปหลัง แปลงหนึ่งไร่ที่อยู่ด้านหน้าย่อมมีมูลค่ามากกว่าแปลง 1 ไร่ที่อยู่ด้านหลังที่ออกถนนได้ยาก  ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ประเมินที่จะแบ่งอย่างไร จะสร้างถนนเข้าไปให้ทุกแปลงอยู่ติดถนนอย่างไร แปลงหน้าอาจมีขนาดเล็กกว่าแต่ราคาต่อหน่วยมาก แปลงหลังมีขนาดใหญ่กว่าแต่ราคาถูกกว่า เป็นต้น

            นี่จึงเป็นหน้าที่ของผมในการแบ่งแยกมรดกอย่างเป็นธรรมนั่นเอง

 

อ่าน 16,752 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved