การประเมินค่าทรัพย์สินทางปัญญา
  AREA แถลง ฉบับที่ 483/2565: วันพฤหัสบดีที่ 07 กรกฎาคม 2565

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            ถ้าท่านต้องการการประเมินค่าทรัพย์สินทางปัญญา อย่าลืมติดต่อศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th)

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th)กว่าศูนย์ข้อมูลฯ ยินดีให้บริการการประเมินค่าทรัพย์สินทางปัญญา

            กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้สรุปวิธีการประเมินค่าไว้ดังนี้:

            1. การประเมินมูลค้าจากต้นทุน (Cost approach)  การประเมินมูลคาจากตนทุนของทรัพยสินทางปัญญษ เป็นการนำเอาต้นทุนจากการได้มาซึ่งทรัพย์สินทางปัญญามาใช้เป็นมูลค้าของสิ่งประดิษฐ์ สินค้า บริการหรือแบรนด์ของสินค้า ตั้งแต่ต้นทุนในการวิจัยและพัฒนา รวมถึงต้นทุนจากค้าแรง ค้าบุคลากร ค้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ ต้นทุนการจัดทำต้นแบบสินค้า/บริการ ต้นทุนการทดสอบและทดลอง ตลอดจนต้นทุนการดำเนินการทางกฎหมาย เช่น การออกใบอนุญาต เป็นต้น ทั้งนี้ การประเมินมูลค้าจากต้นทุนมีความเหมาะสมกับทรัพย์สินทางปัญญาด้านเทคโนโลยีในช่วงแรกของการพัฒนาเท่านั้น ซึ่งแนวทางในการประเมินมูลค้าของทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการวิเคราะห์จากต้นทุนดังกล่าว เป็นวิธีการที่ง่ายกว่าแนวทางการประเมินอื่น ๆ หากแต่มูลค้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้จะไม่สะท้อนมูลค้าที่จะทำให้เกิดประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างแท้จริง

            2. การประเมินมูลค้าจากการเปรียบเทียบราคาตลาด (Market approach)  การประเมินมูลค้าทรัพย์สินทางปัญญาจากราคาตลาด คือ การประเมินมูลค้าของทรัพย์สินทางปัญญาจากราคาของทรัพย์สินทางปัญญาที่มีลักษณะหรือคุณสมบัติที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันที่มีการซื้อขายหรือให้เช้าในตลาด วิธีการดังกล่าวค้อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละชิ้นมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาค้อนข้างเป็นความลับ ไม่ค่อยมีการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จึงทำให้ยากต่อการเปรียบเทียบคุณลักษณะเพื่อประเมินมูลค้า และข้อจำกัดอีกประการ คือ หากผลิตภัณฑ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวเป็นลักษณะที่มีความเฉพาะตัว (niche market) การหาข้อมูลเพื่อนำมาเปรียบเทียบมีความเป็นไปได้น้อยมาก ดังนั้น วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการเปรียบเทียบราคาตลาดจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก

            3. การประเมินมูลค้าทรัพย์สินทางปัญญาด้วยวิธีรายได้ (Income approach) การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาด้วยวิธีนี้ เป็นการประเมินจากกระแสรายได้ในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับจากการถือครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งวิธีการนี้เป็นที่นิยมในวงการธุรกิจ เพราะสะท้อนผลตอบแทนที่จะเกิดจากการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญามากกว่าวิธีการประเมินจากต้นทุน รวมทั้งข้อมูลที่นำมาใช่ในการประเมินมูลค่าเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนธุรกิจอยู่แล้ว จึงทำให้ง่ายต่อการประเมิน ทั้งนี้ ข้อมูลที่ใช้ประกอบการประเมินดังกล่าวอาจประกอบด้วย จำนวนรวมของกระแสรายได้ในอนาคต อัตราการเติบโตหรืออัตราการเสื่อมของกระแสรายได้ในอนาคต รวมทั้งระยะเวลาในการสร้างรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา อย่างไรก็ดีปัจจัยสำคัญของการประเมินมูลค้าจากรายได้คือ ความเสี่ยงและต้นทุนทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้มูลค้าที่ได้มีความแกว่งตัวสูงกว่าการประเมินจากต้นทุน ดังนั้น การประเมินมูลค้าจากรายได้จึงจำเป็นต้องคิดจากมูลค้าทางรายได้ที่เป็นปัจจุบัน (Net present value)

 

            สำหรับท่านที่สนใจการประเมินค่าทรัพย์สินทางปัญญา สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

 

รายงานประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาฉบับย่อ https://www.ipthailand.go.th/images/3534/2563/DIP/dip_report20200303.pdf

 

รายงานผลการศึกษาโครงการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา https://www.ipthailand.go.th/images/3534/web_01052018/report.pdf

 

คู่มือการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา https://www.ipthailand.go.th/images/3534/web_01052018/manual.compressed.pdf

 

 

 

 

 

อ่าน 1,756 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved