มาประเมินราคาเครื่องบินกันเถอะ
  AREA แถลง ฉบับที่ 803/2565: วันศุกร์ที่ 04 พฤศจิกายน 2565

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

 

 

            ปัจจุบันนี้เครื่องบินอาจมีมากกว่าความต้องการใช้งาน ทำให้ต้องจอดทิ้งไว้บ้าง หรือใช้งานไม่ได้เต็มประสิทธิภาพบ้าง  เครื่องบินบางลำก็มีขนาดใหญ่เกินการใช้งานทั่วไป  สายการบินหลายแห่งก็ขายเครื่องบินที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานไป  สำหรับเครื่องบินหรืออากาศยานที่ไม่ได้บินมานาน แม้จะมีการซ่อมบำรุงตามระยะเวลา แต่หากมีการซื้อขายจริง ก็ควรมีการตรวจสอบสภาพเสียก่อน

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ให้สัมภาษณ์ WorkPoint เรื่องการขายชาติ ขายแผ่นดิน ชี้ให้เห็นว่าคนไทย! อาจต้องเช่าบ้านอยู่ หากเดินหน้ากฎหมายให้สิทธิต่างชาติซื้อที่ดิน

            ในการประเมินค่าเครื่องบินนั้น วิธีพื้นฐานวิธีหนึ่งก็คือการเปรียบเทียบตลาด แต่ปัญหาสำคัญของเราก็คือ แวเราจะเอาข้อมูลที่ไหนมาเปรียบเทียบการซื้อขายเครื่องบินได้

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ให้ความเห็นต่อการหาข้อมูลตลาดของการซื้อขายเครื่องบินพาณิชย์ว่ามีแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจหลายแหล่งที่สามารถจะใช้ประกอบการหาข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินค่าเครื่องบินพาณิชย์โดยวิธีเปรียบเทียบตลาดได้ เช่น

  1. ข้อมูลจาก Internet ทั่วไป โดยค้นหาจาก google หรือ search engine ต่างๆ ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่หาได้ง่ายที่สุด  แต่อาจจะมีความน่าเชื่อถือไม่มากนัก เพราะยังไม่มีการตรวจสอบข้อมูลที่น่าชัดเท่าที่ควร
  2. ข้อมูลจากบทความวิชาการต่างๆ ในวารสารการประเมินค่าทรัพย์สินและอสังหาริมทรัพย์ระดับนานาชาติจากสถาบันการศึกษาต่างๆ หรือสมาคมวิชาการอสังหาริมทรัพย์ เช่น Asian Real Estate Society, Pacific Rim Real Estate Society หรือ European Real Estate Society เป็นต้น  บทความหลายบทในกลุ่มนี้จะเป็น peer review article ที่น่าเชื่อถือมาก
  3. ข้อมูลจากวารสารของสมาคมวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สิน โดยต้องเป็นสมาชิกของสมาคมประเมินค่าทรัพย์สินระดับโลก เช่น the Appraisal Institute, International Association of Assessing Officers หรือ American Society of Appraisers เป็นต้น โดยในบทความวิชาการเหล่านี้จะมีบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจ
  4. ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงสำคัญที่ต้องซื้อข้อมูลบันทึกการซื้อขายเครื่องบินตามประเภทและรุ่นต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลส่วนนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญมากที่สุดอันหนึ่ง ทั้งนี้มีแหล่งซื้อขายข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้หลายแห่งซึ่งควรที่จะซื้อไว้ประกอบการวิเคราะห์มูลค่าตามวิธีเปรียบเทียบตลาดเป็นอย่างยิ่ง
  5. ข้อมูลจากผู้ประเมินค่าทรัพย์สินในประเทศอื่น ทั้งนี้ ดร.โสภณ ในฐานะที่เป็นประธานมูลนิธิประเมินค่า-นายหน้าแห่งประเทศไทย และประธานสมาคม FIABCI-Thai ซึ่ง FIABCI เป็นสมาคมอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีสมาชิกอยู่ทั่วโลก จึงทำให้รู้จักผู้ประเมินค่าทรัพย์สินจากภาคเอกชน และภาครัฐเป็นจำนวนมากที่จะสามารถขอข้อมูลมาใช้เปรียบเทียบในการประเมินค่าเครื่องบินแต่ละลำที่ได้รับมอบหมายได้

            ถ้าไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ การประเมินค่าทรัพย์สินประเภทเครื่องบินก็จะไม่สามารถทำได้  ยิ่งกว่านั้น เรายังต้องการข้อมูลตลาดการบิน แนวโน้มในอนาคตของอุตสาหกรรมการบิน และสายการบินที่เราได้รับการว่าจ้างให้ประเมินด้วย ข้อมูลเหล่านี้ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน  อย่างเช่นทุกวันนี้เราอาจพอรู้อยู่ว่าธุรกิจการบินกำลังแย่ แต่จะดีขึ้นเมื่อไหร่  และถึงแม้ธุรกิจการบินกำลังแย่ แต่ใช่ว่าทุกสายการบินจะอยู่ในสถานะเดียวกัน

         อนึ่งศูนย์ข้อมูลฯ มีประสบการณ์ในการสำรวจและประเมินค่าเครื่องบินหลายรุ่น หลายลำในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้คณะผู้ประเมินและผู้เชี่ยวชาญการสำรวจอาจเดินทางไปยังท่าอากาศยานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อสำรวจสภาพเครื่องบิน-อากาศยานได้ ดร.โสภณ กล่าวว่าที่ศูนย์ข้อมูลฯ มีผู้เชี่ยวชาญการตรวจสอบสภาพเครื่องบิน-อากาศยานก่อนการรับ/ส่งมอบในกรณีการซื้อขาย  หากส่วนราชการ หรือวิสาหกิจเอกชนใดต้องการจะใช้บริการทางด้านนี้ สามารถติดต่อศูนย์ข้อมูลฯ ได้ที่ โทร. 02.295.3905 ต่อ 114 คุณสัญชัย

 

อ่าน 1,078 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved