อาชญากรชอบ Bitcoin เพราะไม่เผยชื่อจริง
  AREA แถลง ฉบับที่ 270/2567: วันอังคารที่ 09 เมษายน 2567

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            เมื่อเร็วๆ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ได้แปะ FB ความว่า “#bitcoin ถูกใช้ก่ออาชญา-กรรม ทำไมพวกผู้นำวงการ ไม่แก้ด้วยการให้ลงทะเบียนยืนยันตัวตนผู้ใช้ หวังเปิดช่องให้อาชญากรหรือ?”

 

            ทั้งนี้มีดุษฎีนิพนธ์เคยศึกษาไว้ จากงานศึกษา 'แนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เกี่ยวกับสกุลเงินเข้ารหัสในประเทศไทย: กรณีศึกษาบิทคอยน์' โดย พ.ต.ต.กิจชัยยะ สุรารักษ วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562

 

โปรดดู https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/101996 .

 

บทสรุปย่อ

Summary

*   'คริปโตเคอร์เรนซี' (Cryptocurrency) หรือ 'สกุลเงินเข้ารหัส' สินทรัพย์ดิจิทัลที่ในด้านหนึ่งถูกมองว่าจะเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ไปอย่างสิ้นเชิง จะเป็นทางเลือกที่จะทำให้มนุษย์มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยไม่จำเป็นจะต้องใช้เงินสด ไม่จำเป็นต้องเก็บรักษา หรือใช้บริการของธนาคาร หรือสถาบันการเงินต่างๆ อีกต่อไป

*   แต่จากลักษณะของผู้ใช้สกุลเงินเข้ารหัส ที่มักมีลักษณะเป็น 'บุคคลนิรนาม' (Anonymous) ก็ทำให้ถูกนำไปใช้ในการก่ออาชญากรรมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ใต้ดินต่างๆ เช่น ลักลอบซื้อขายยาเสพติด อาวุธและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จ้างวานผู้อื่นก่ออาชญากรรม เรียกค่าไถ่ และลักลอบค้าประเวณี ฯลฯ

*   งานศึกษาการป้องกันอาชญากรรมที่ใช้สกุลเงินเข้ารหัสเป็นเครื่องมือ เสนอว่า ไทยควรมีมาตรการบังคับให้ลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนผู้ใช้งานสกุลเงินเข้ารหัสต่างๆ มีการกำหนดหลักปฏิบัติในการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ชัดเจน และสร้างกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ของรัฐ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหลักในการยึด หรืออายัดสกุลเงินเข้ารหัสต่างๆ ที่ใช้ในการกระทำผิดกฎหมาย

 

อ่าน 1,938 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved