ในระหว่างวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2568 มีการประชุมเรื่องแรงงานที่จัดขึ้นโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization: ILO) ณ กรุงโตเกียว การประชุมมีสาระสำคัญที่ทุกฝ่ายพึงทราบอะไรบ้าง
ดร.โสภณ พรโชคชัย ในฐานะกรรมการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ได้รับมอบหมายจากคุณเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล ประธานสภาฯ และคุณสิริวัน ร่มฉัตรทอง เลขาธิการสภาฯ ให้ไปเป็นผู้แทนของสภาฯ ไปประชุมข้างต้น จึงขอสรุปการประชุมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการแรงงานของธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทย
การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและการทำงานที่เหมาะสม
ในวันแรกของการประชุมคือวันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ เป็นการประชุมเรื่องการเจรจาระหว่างสองฝ่ายในภาคส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเด็นการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและการทำงานที่เหมาะสม ทั้งนี้ที่ผ่านมามีความคาดหวังเพิ่มขึ้นสำหรับบริษัทต่างๆ ที่จะรักษาและเคารพสิทธิมนุษยชนและแรงงานภายในการทำงานเพื่อส่งเสริมคุณค่าเหล่านี้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน รวมถึง
1. การดำเนินการตามหลักปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน (HRDD)
2. หลักปฏิบัติของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UNGP)
3. ปฏิญญาหลักการเกี่ยวกับวิสาหกิจข้ามชาติและนโยบายสังคม (MNE)
4. ปฏิญญาและแนวทางปฏิบัติของ OECD สำหรับวิสาหกิจข้ามชาติ ในมิติแรงงานของธุรกิจและสิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ
ILO มุ่งเน้นถึงกลยุทธ์ เกี่ยวกับการทำงานที่มีคุณค่าในห่วงโซ่อุปทานส่งเสริมการอำนวยความสะดวกดังกล่าวโดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การตระหนักถึงมิติแรงงานของการปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนอย่างเหมาะสม ได้รับการส่งเสริมทั้งในกลุ่มองค์กรนายจ้างและองค์กรลูกจ้างในภูมิภาคด้วยการดำเนินอย่างต่อเนื่อง ความคิดริเริ่มของ ILO รวมถึงโครงการต่างๆ เช่น การสร้างห่วงโซ่มูลค่าที่มีความรับผิดชอบในเอเชียผ่านการส่งเสริมการทำงานที่มีคุณค่าในการดำเนินธุรกิจ
ILO ได้รับความร่วมมือจากองค์กรนายจ้างและลูกจ้างในญี่ปุ่น โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศของญี่ปุ่น สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยี (JEITA) และสภาสหภาพแรงงานโลหะแห่งญี่ปุ่น (JCM) โดยองค์กรเหล่านี้ให้ความร่วมมือในการจัดงานประชุมในครั้งนี้เป็นอย่างดี โดยสนับสนุนให้เชิญฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างเข้าร่วมเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและความร่วมมือเพื่อความก้าวหน้าในการทำงานที่เหมาะสมและธุรกิจที่รับผิดชอบในห่วงโซ่อุปทานอิเล็กทรอนิกส์ในเอเชีย
การประชุมนี้เปิดโอกาสให้มีความร่วมมือและหุ้นส่วนเพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ งานที่เหมาะสมในห่วงโซ่อุปทานอิเล็กทรอนิกส์ในเอเชีย ผู้เข้าร่วมได้สำรวจการจัดตั้งของกลไกการสนทนาแบบสองฝ่ายเพื่อผลักดันเป้าหมายเหล่านี้ภายในภาคส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศที่เข้าร่วมในครั้งนี้ประกอบด้วยญี่ปุ่น ไทย มาเลเซีย ลาว เวียดนาม อินเดีย และอินโดนีเซียโดยมีจำนวนรวม 28 ท่าน (7 ประเทศๆ ละ 4 ราย) ร่วมทั้งองค์การนายจ้างญี่ปุ่น 2 แห่ง และเจ้าหน้าที่ ILO) นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากมองโกเลียและฟิลิปปินส์มาในวันที่ 2 ของานด้วย
วิทยากรในวันนั้นประกอบด้วย
• นางสาว มาเรีย เฮเลน่า อังเดร ผู้อำนวยการ ACTRAV
• นายอดัม กรีน รองผู้อำนวยการ ACTEMP
• นายฮิเดยูกิ ชิมิสึ เลขาธิการทั่วไป RENGO
• นางสาวเอมิโกะ นางาซาวะ ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักกฎหมายแรงงาน KEIDANREN
• นางยูกิ โคบายาชิ เจ้าหน้าที่ ILO
• นายฮิเดยูกิ ฮิราคาวะ สภาสหภาพแรงงานโลหะแห่งประเทศญี่ปุ่น (JCM)
• นางสาว Savita Bhaurao Sawant สมาพันธ์อุตสาหกรรมอินเดีย (CII) / Tata Group
• ดร. ลินดา อัลฟาเรโร ลูมายาค สหพันธ์นายจ้างแห่งมาเลเซีย (MEF)
• นายดาร์โวโต สมาคมนายจ้างแห่งอินโดนีเซีย (APINDO)
• ผู้แทน สมาพันธ์สหภาพแรงงานแห่งความเจริญรุ่งเรืองแห่งอินโดนีเซีย (KSBSI)
• นายประสิทธิ์ ประสพสุข สมาพันธ์แรงงานภาคอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
• นายคามารุล บาฮาริน มันซอร์ สภาสหภาพแรงงานมาเลเซีย (MTUC)
• นายฮิเดยูกิ ฮิราคาวะ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักกิจการระหว่างประเทศ ประเทศญี่ปุ่น
• นางสาวมิชิโกะ อาริกาวะ รองประธานคณะกรรมการ CSR บริษัท Japan Electronics และ
• นายชินิจิ ทาคาซากิ ผู้อำนวยการสำนักงาน ILO ประจำประเทศญี่ปุ่น
สำหรับในภาคบ่ายได้แบ่งกลุ่มย่อย 3 กลุ่มพิจารณาเรื่องการประสานงานและความสอดคล้องระหว่างฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง ปรับปรุงการระบุ การสื่อสาร และการแก้ไขผลกระทบด้านลบต่อสิทธิมนุษยชน และสิทธิแรงงานตลอดห่วงโซ่คุณค่าผ่านการเจรจาร่วมกันทางสังคม แล้วสุดท้ายให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างนำเสนอแนวทางติดตามผลที่สำคัญและผลลัพธ์น่าสนใจ
ดร.โสภณได้นำเสนอและในที่ประชุมได้เห็นร่วมกันว่าฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างที่มีความสัมพันธ์ที่ดีน่าจะร่วมกันทำงานให้เป็นแบบอย่างว่าการมีการทำงานที่ดีและการเคารพสิ่ทธิมนุษยชนเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะฝ่ายนายจ้างเป็นการสร้างแบรนด์ให้กับองค์กรด้วย ฝ่ายลูกจ้างก็จะได้มีสภาวะแวดล้อมที่ดีมีกำลังใจทำงาน
ความรับผิดชอบต่อสังคม-และการฝึกอบรม ESG
ในวันที่ 2 ของการประชุม (6 กุมพาพันธ์) ดร.โสภณได้อยู่ในกลุ่มเฉพาะของนายจ้าง สำหรับวันที่ 2 (6 กุมภาพันธ์ 2568) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม-และการฝึกอบรม ESG (Environmental Social Governance) ซึ่งนอกจากนายจ้างแล้วยังมี “องค์กรสมาชิกทางธุรกิจ (EBMO)” โดยเน้นการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และ ESG ซึ่งรวมถึงงานที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น อิเล็กทรอนิกส์ การทำเหมืองแร่ ยางพารา น้ำมันปาล์ม และการแปรรูปอาหาร ภาคส่วนเหล่านี้เผชิญกับปัญหาสำคัญด้าน ESG ในองค์กร
อย่างไรก็ตาม เส้นทางสู่การบูรณาการ ESG เข้ากับการดำเนินธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบยังคงเป็นความท้าทายสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยมีอุปสรรคสำคัญ ได้แก่
• ระดับของความตระหนักรู้เกี่ยวกับ ESG สภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบที่แตกต่างกันไป
• การสนับสนุนการสร้างศักยภาพ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ ESG
• กฎระเบียบที่เกิดขึ้นใหม่และแนวโน้มการค้า เป็นต้น
การนำเสนอในวันนี้ประกอบด้วย การนำเสนอเกี่ยวกับแนวโน้มและข้อกำหนด ESG ในปัจจุบันในเอเชีย โดย Gary Rynhart & Adam Greene และต่อด้วยกรอบการกำกับดูแล: มุมมองเกี่ยวกับวิธีที่รัฐบาลควบคุม ESG โดยศาสตราจารย์ ดร.ชานติ ฟาริดาห์ บินติ ซัลเลห์ ผู้อำนวยการสถาบันพลังงานทดแทนและยั่งยืน (ISuRE) มหาวิทยาลัยมาเลเซียซาราวัก (UNIMAS) และข้อเสนอว่าบริษัทต้องการอะไร ความต้องการอยู่ที่ไหน เป็นอย่างไรโดยนายโยชิฮิสะ มาซากิ ผู้อำนวยการ Keidanren
ในส่วนของการอบรม ESG โดยตรง นาง Cara Westerman ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายความยั่งยืนทางธุรกิจ หอการค้าควีนส์แลนด์ได้บรรยายร่วมกับ นาง Daniella Reyes ผู้สนับสนุน สหพันธ์นายจ้างผู้เชี่ยวชาญแห่งฟิลิปปินส์ (ECOP) และนายโจนาส ดัมดัม ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัทที่ปรึกษาโซลูชันอุตสาหกรรม (ISC) ฟิลิปปินส์
ดร.โสภณได้นำเสนอแนวทางในการฝึกอบรม ESG ให้กับสมาชิกของสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยในภูมิภาคต่างๆ โดยทาง ILO ยินดีให้การสนับสนุนวิทยากร และอาจให้ทุนในการจัดการฝึกอบรมอีกด้วย
นอกจากนี้ ดร.โสภณ ยังได้ทำคลิปสรุปรายงานการประชุมไว้ด้วยดังนี้
สรุปรายงานประชุมวันที่ 1: (5 กุมภาพันธ์ 2568)
• https://www.facebook.com/dr.sopon4/videos/1125260085786232
• https://www.tiktok.com/@dr.sopon4/video/7468118086529436936?lang=th-TH
• https://youtu.be/zhPH3NQwRws
สรุปรายงานประชุมวันที่ 2: (6 กุมภาพันธ์ 2568)
• https://www.facebook.com/dr.sopon4/videos/2967434236744282
• https://www.tiktok.com/@dr.sopon4/video/7468456463686536455?lang=th-TH
• https://youtu.be/BbY3D5rBZoY