แสร้งเลี้ยงโค 1 ตัวสำหรับที่ดิน 5 ไร่ก็เลี่ยงภาษีที่ดินฯ ได้แล้ว
  AREA แถลง ฉบับที่ 576/2563: วันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2563

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            หลายคนกลัวว่าต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่ถ้าแสร้งเลี้ยงโค 1 ตัวต่อพื้นที่ 5 ไร่ ก็ไม่ต้องเสียภาษีแล้ว อย่างน้อยก็ 3 ปีแรกที่ได้รับการยกเว้น

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) นำเสนอประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ระบุว่าการใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ให้หมายถึง การใช้ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตามความหมายของคำว่า “ประกอบการเกษตร” ในระเบียบคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเกษตรกร พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภค จำหน่าย หรือใช้งานในฟาร์ม แต่ไม่รวมถึงการทำการประมงและการทอผ้า

            การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ต่อเนื่องที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมนั้นด้วย ทั้งนี้ พื้นที่ต่อเนื่องตามวรรคสอง ต้องไม่เกินกึ่งหนึ่งของพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม แต่ไม่รวมถึงกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

            การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมตามข้อ ๒ ที่มีชนิดพืช ชนิดสัตว์ หรือลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตามที่ปรากฏในบัญชีแนบท้ายประกาศฉบับนี้ให้มีอัตราขั้นต่ำของการประกอบการเกษตรต่อไร่ อัตราพื้นที่คอกหรือโรงเรือน อัตราการใช้ที่ดินหรือมีลักษณะการใช้ประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในบัญชีแนบท้ายด้วย  โปรดดูรายละเอียดได้ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/126/T_0020.PDF

            จะเห็นได้ว่าหากเลี้ยงโคเพียง 1 ตัว โดยสร้างพื้นที่คอกหรือเรือนนอนขนาด 7 ตารางเมตรต่อตัว ก็สามารถระบุว่าที่ดิน 5 ไร่เป็นที่เกษตรกรรม ดังนั้นที่ดินใจกลางเมืองที่มีขนาด 20 ไร่ ก็แค่เลี้ยงโคเพียง 4 ตัว ก็กลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรมได้รับการยกเว้นภาษีไป 3 ปีเลยทีเดียว  กรณีนี้ทำให้คนที่มีรายได้สูง มีทรัพย์สินมูลค่ามาก ไม่ต้องเสียภาษี แต่ประชาชนทั่วไปต้องเสียภาษีนั่นเอง

 

บัญชีแนบท้าย ก

            การประกอบการเกษตรที่เป็นการทำไร่ การปลูกผัก การปลูกไม้ผลยืนต้น การปลูกสวนป่า การปลูกป่าเศรษฐกิจ แบบสวนเฉพาะ หรือการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นแบบสวนผสมที่มีชนิดพืชดังต่อไปนี้ จะต้องประกอบการเกษตร ให้ได้อัตราขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในตาราง จึงจะถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ในการประกอบการเกษตรกรรม

            ชนิดพืช                                อัตราขั้นต่ำของการประกอบการเกษตรต่อไร่

            1.กล้วยหอม                         200 ต้น/ไร่

            2. กล้วยไข่                          200 ต้น/ไร่

            3. กล้วยน้ำว้า                       200 ต้น/ไร่

            4. กระท้อนเปรี้ยว                  25 ต้น/ไร่

            5. กาแฟ                             170 ต้น/ไร่

            พันธุ์โรบัสต้า                        170 ต้น/ไร่

            พันธุ์อราบิก้า                         533 ต้น/ไร่

            6. กานพลู                           20 ต้น/ไร่

            7. กระวาน                           100 ต้น/ไร่

            8. โกโก้                              150-170 ต้น/ไร่

            9. ขนุน                               25 ต้น/ไร่

            10. เงาะ                             20 ต้น/ไร่

            11. จำปาดะ                         25 ต้น/ไร่

            12. จันทร์เทศ                       25 ต้น/ไร่

            13. ชมพู่                              45 ต้น/ไร่

            14. ทุเรียน                            20 ต้น/ไร่

            15. ท้อ                               45 ต้น/ไร่

            16. น้อยหน่า                        170 ต้น/ไร่

            17. นุ่น                                25 ต้น/ไร่

            18. บ๊วย                               45 ต้น/ไร่

            19. ปาล์มน้ำมัน                     22 ต้น/ไร่

            20. ฝรั่ง                               45 ต้น/ไร่

            21. พุทรา                            80 ต้น/ไร่

            22. แพสชั่นฟรุ๊ต                    400 ต้น/ไร่

            23. พริกไทย                        400 ต้น/ไร่

            24. พลู                               100 ต้น/ไร่

            25. มะม่วง                           20 ต้น/ไร่

            26. มะพร้าวแก่                      20 ต้น/ไร่

            27. มะพร้าวอ่อน                    20 ต้น/ไร่

            28. มะม่วงหิมพานต์               45 ต้น/ไร่

            29. มะละกอ                        

            (ยกร่อง)                             100 ต้น/ไร่

            (ไม่ยกร่อง)                          175 ต้น/ไร่

            30. มะนาว                           50 ต้น/ไร่

            31. มะปราง                          25 ต้น/ไร่

            32. มะขามเปรี้ยว                   25 ต้น/ไร่

            33. มะขามหวาน                   25 ต้น/ไร่

            34. มังคุด                            16 ต้น/ไร่

            35. ยางพารา                        80 ต้น/ไร่

            36. ลิ้นจี่                              20 ต้น/ไร่

            37. ลำไย                             20 ต้น/ไร่

            38. ละมุด                            45 ต้น/ไร่

            39. ลางสาด                         45 ต้น/ไร่

            40. ลองกอง                         45 ต้น/ไร่

            41. ส้มโอ                            45 ต้น/ไร่

            42. ส้มโอเกลี้ยง                    45 ต้น/ไร่

            43. ส้มตรา                           45 ต้น/ไร่

            44. ส้มเขียวหวาน                  45 ต้น/ไร่

            45. ส้มจุก                            45 ต้น/ไร่

            46. สตอเบอรี่                       10,000 ต้น/ไร่

            47. สาลี่                              45 ต้น/ไร่

            48. สะตอ                            25 ต้น/ไร่

            49. หน่อไม้ไผ่ตง                   25 ต้น/ไร่

            50. หมาก (ยกร่อง)                100-170 ต้น/ไร่

            51. พืชกลุ่มให้เนื้อไม้             100 ต้น/ไร่

 

บัญชีแนบท้าย ข

            การประกอบการเกษตรที่เป็นการเลี้ยงปศุสัตว์ และการเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจและเกษตรอื่น ๆ  ที่มีชนิดสัตว์ ดังต่อไปนี้ ต้องประกอบการเกษตรให้ได้อัตราขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในตาราง จึงจะถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ ในการประกอบการเกษตรกรรม

            ชนิดสัตว์              พื้นที่คอกหรือโรงเรือน         การใช้ที่ดิน

            โค                      ขนาด 7 ตารางเมตรต่อตัว    1 ตัวต่อ 5 ไร่

            กระบือ                 กระบือโตเต็มวัย                ขนาด 7 ตารางเมตรต่อตัว 1 ตัวต่อ 5 ไร่

            แพะ-แกะ             แพะ-แกะโตเต็มวัย              ขนาด 2 ตารางเมตรต่อตัว 1 ตัวต่อไร่

            สุกร                    พ่อพันธุ์                           คอกเดี่ยว ขนาด 7.5 ตารางเมตรต่อตัว        

                                     แม่พันธุ์                            คอกเดี่ยว ขนาด 1.5 ตารางเมตรต่อตัว        

            สุกรอนุบาล                                                 ขนาด 0.5 ตารางเมตรต่อตัว         

            สุกรขุน                                                      ขนาด 1.5 ตารางเมตรต่อตัว         

            คอกคลอด                                                  ใช้พื้นที่ไม่น้อยกว่า 6 ตารางเมตรต่อตัว       

            ซองอุ้มท้อง                                                ใช้พื้นที่ไม่น้อยกว่า 2 ตารางเมตรต่อตัว       

            สัตว์ปีกเลี้ยงปล่อย (เป็ดและไก่)                      4 ตารางเมตรต่อตัว

                                                                           (ตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์)     

            กวาง                         2 ไร่ต่อตัว                         

            หมูป่า                        5 ตารางเมตรต่อตัว (เลี้ยงในโรงเรือน)

                                            0.25 ไร่ต่อตัว (เลี้ยงปล่อย) 

            ผึ้ง                            บริเวณที่มีพืชอาหารเลี้ยงผึ้ง เช่น เกสร และน้ำหวานดอกไม้ที่สมดุล

                                            กับจำนวนรังผึ้ง

            จิ้งหรีด                       บริเวณพื้นที่เพียงพอและเหมาะสมกับขนาดและจำนวนบ่อ

อ่าน 20,451 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved