10 วัด Unseen บนยอดเขาที่อาจโดนยึดเยี่ยงธรรมกาย
  AREA แถลง ฉบับที่ 480/2559: วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม 2559

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            ที่ผ่านมารัฐบาลได้ระบุว่า "ธรรมกาย" รุกป่าสงวน ซึ่งเรื่องนี้จริงเท็จหรือไม่ ควรมีการตรวจสอบ  เสียดายที่การออกข่าวเป็นไปในทางเดียว สื่ออาจขาดอิสระในการเสนอข่าว แต่กรณีวัดแบบ Unseen ที่ตั้งอยู่บนยอดเขา และเป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่ง อาจโดนแบบเดียวกับ "ธรรมกาย" ได้ หากใช้มาตรฐานเดียวกับ "ธรรมกาย" เพราะกรณี "ธรรมกาย" ยังไม่ได้ตั้งวัดอยู่บนยอดเขาด้วยซ้ำ เรามาดูวัดบนยอดเขากัน

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ได้ยกตัวอย่างวัดบนยอดเขาไว้จากการ Review โดยเว็บไซต์ชื่อดัง เช่น Chillpainai (http://bit.ly/2h0Il80) และ (Mthai: http://bit.ly/1vxm9sx) วัดเหล่านี้อาจดูบุกรุกป่าเขาอย่างชัดแจ้งหรือไม่ ควรได้รับการตรวจสอบ

1. วัดถ้ำเสือ จังหวัดกาญจนบุรี


ที่มา: http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/ssru-NEW/14/TPUN/newt1.jpg

            วัดถ้ำเสือ ตั้งอยู่บนเนินเขา ในตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง เป็นวัดที่มีชื่อเสียงไม่น้อย รวมถึงยังถือว่าเป็นวัดที่มีพระที่มีองค์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดกาญจนบุรี พระเจดีย์ที่มีความสวยงามโดดเด่น สามารถมองเห็นได้จากในระยะไกล เพราะตั้งอยู่บนเนินเขา ใครที่มาเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี สามารถแวะเยี่ยมชมวัด สักการะพระบรมสารีริกธาตุภายในพระเจดีย์เกศแก้วปราสาท และนมัสการหลวงพ่อชินประทานพร

            การขึ้นไปบนเขาที่ประดิษฐานหลวงพ่อชินประทานพร และพระเจดีย์ ทำได้ทั้งเดินขึ้นบันไดนาคด้านหน้า ที่มีจำนวน 157 ขั้น ชันประมาณ 60 องศา หรือสามารถซื้อตั๋วรถรางไฟฟ้านั่งไปกลับ เมื่อขึ้นไปถึงบนเขาบริเวณวัด ด้านซ้ายติดกับบริเวณรถรางจะเป็นพระเจดีย์เกศแก้วปราสาท

2. วัดถ้ำเสือ จังหวัดกระบี่


ที่มา: http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/ssru-NEW/14/TPUN/tp3.jpg

            วัดถ้ำเสืออยู่ในตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งชาวต่างประเทศ ทั้งความโดดเด่นของวัดและชื่อเสียงของ "หลวงพ่อจำเนียร" ประธานสงฆ์วัดถ้ำเสือที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามาช้านาน สภาพโดยทั่วไปของ วัดถ้ำเสือมีลักษณะ เป็นสวนป่า เป็นโพรงถ้ำ มีเพิงผาและแหล่งถ้ำธรรมชาติ เช่น ถ้ำคนธรรพ์ ถ้ำลอด ถ้ำช้างแก้ว ถ้ำลูกธนู ถ้ำงู ถ้ำเต่า ถ้ำมือเสือ เป็นเอกลักษณ์และเป็นที่นิยมชื่นชอบของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

3. วัดป่าภูก้อน จังหวัดอุดรธานี


ที่มา: http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/ssru-NEW/14/TPUN/tp5.jpg

            วัดป่าภูก้อน ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูงและป่าน้ำโสม ท้องที่บ้านนาคำ ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี อันเป็นรอยต่อแผ่นดิน 3 จังหวัด คือ อุดรธานี เลย และหนองคาย ในปัจจุบันนี้ วัดป่าภูก้อนดำรงคงอยู่ด้วยความสมดุลของป่าไม้ที่ทวีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นทุกคืนวัน โดยบุคคลผู้มีความศรัทธาและระลึกคุณของสรรพสิ่งทั้งหลายของชาติและแผ่นดินอันเป็นที่กำเนิดแห่งชีวิต โดยมีคุณพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องสำนึก และมีพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ที่ชาวไทยทุกคนควรทดแทน เป็นกำลังใจส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบให้ดำรงปฏิปทาของพระป่ากรรมฐานเพื่อบูชาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จนถึงที่สุด

4. วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) จังหวัดหนองคาย 


ที่มา: http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/ssru-NEW/14/TPUN/tp6.jpg

            วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) ต.นาสะแบง อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ หนึ่งในที่ท่องเที่ยวและสถานที่ปฏิบัติธรรมของจังหวัด "บึงกาฬ" จังหวัดน้องใหม่ ถิ่นอีสานริมโขงตอนเหนือ ที่แยกตัวออกมาจากจังหวัดหนองคาย คือ "ภูทอก" หรือ "วัดเจติยาคีรีวิหาร" เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของภิกษุ สามเณร และพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยมี "พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ" เป็นผู้ก่อตั้ง


ที่มา: http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/ssru-NEW/14/TPUN/tp7.jpg

            ภูทอกเป็นภูเขาลูกโดดเดี่ยวสมชื่อ โดยมีทางเดินเป็นบันไดไม้วนเวียนไปรอบๆ ภูเขาจนถึงด้านบนสุดของ เรียกได้ว่า ดูวิวได้รอบภูทอก 360 องศา ใช้เวลาการสร้างยาวนาน 5 ปีเต็ม ด้วยแรงงานคนสร้างล้วนๆ ในหนทางที่ก้าวขึ้นภูทอกนั้น สามารถแบ่งเป็นชั้นได้ 7 ชั้น ระหว่างทางที่เดินจะมีที่พักของแม่ชีและกุฏิพระสงฆ์ที่ปลูกสร้างไปกับโขดหิน นอกจากนี้ยังมีป้ายข้อคิดที่เขียนไว้กับหน้าผา ฝากเป็นข้อเตือนใจในทุกย่างก้าวเดิน ผู้ที่ขึ้นมาจะต้องใช้ความพยายามและมุ่งมั่นในการที่จะขึ้นไป ก็เปรียบเหมือนหนทางสู่การบรรลุธรรม ให้คนก้าวพ้นจากโลกแห่งโลกียะสู่โลกแห่งโลกุตระหรือโลกแห่งการหลุดพ้นด้วยความเพียรพยายามและความมุ่งมั่นนั่นเอง

5. เขาคิชฌกูฏ  จังหวัดจันทบุรี


ทีมา: http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/Tuk/2558/jan/Day26/221_re.jpg

            อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ อำเภอมะขาม และกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรียอด เขาคิชฌกูฏ ที่เค้าว่ากันว่าอยู่สูงเทียมเมฆนั้น เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย ทุกๆปี ในช่วงที่เปิดให้มีการขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาทนั้น จะมีผู้คนจากทั่วทุกภาถของประเทศไทย ต่างเดินทางมายังยอดเขาแห่งนี้เป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะมาสักการะแผ่นหิน ซึ่งเชื่อกันว่าพระพุทธองค์ทรงมาประทับรอย พระบาทไว้ ด้วยความศรัทธาและความเชื่อในอานิสงส์ที่แรงกล้า ว่ากันว่าใครที่ได้นมัสการรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ถือเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัวและชีวิต ขออะไรจะได้อย่างนั้น

6. วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว จังหวัดเพชรบูรณ์


ที่มา: http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/ssru-NEW/14/TPUN/tp14.jpg



ที่มา: http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/ssru-NEW/14/TPUN/tp12.jpg

            เจดีย์พระธาตุผาซ่อนแก้วเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว อยู่ที่ ต.แคมป์สน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์  สถานที่อันเป็นธรรมภูมิที่งดงาม ซึ่งเรียกว่าผาซ่อนแก้วนี้ มีธรรมชาติเป็นภูเขาที่สูงใหญ่ ซ้อนกันเป็นทิวเขาเรียงรายโอบรอบบริเวณศาลาปฏิบัติธรรม และบนยอดเขาสูงตระหง่านนั้น มีถ้ำอยู่บนปลายยอดเขา ซึ่งมีชาวบ้านทางแดงหลายคน ได้เห็นลูกแก้วลอยเหนือฟากฟ้า และลับหายเข้าไปในถ้ำบนยอดผา ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมา และต่างถือว่าเป็นสถานที่มงคล มีความศักดิ์สิทธิ์และเรียกตาม ๆ กันว่า “ผาซ่อนแก้ว”
 

7. วัดเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้าราชานุสรณ์  จังหวัดลำปาง


ที่มา: http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/ssru-NEW/14/TPUN/tp16.jpg
 


ที่มา: http://travel.mthai.com/app/uploads/2015/01/20140623_3_1403509542_757121.jpg

            ตั้งอยู่ที่ “ดอยปู่ยักษ์” บ้านทุ่งทอง ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เป็นแหล่งท่องเที่ยว “อันซีน” เนื่องจากยังไม่เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวมากนัก มีลักษณะเป็นผาหินสูงชัน บนยอดของภูเขาที่สูงที่สุดนั้น มีรอยพระพุทธบาทศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ วัดจะมี 2 ชั้น วัดชั้นล่างสามารถขับรถไปจอดหน้าวัดได้เลย ส่วนวัดชั้นบนที่ตั้งอยู่บนยอดเขา ต้องขับรถขึ้นไป 3 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าขึ้นเขาไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร

8. วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม  จังหวัดนครราชสีมา


ที่มา: http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/ssru-NEW/14/TPUN/tp20.jpg

            วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม หรือวัดพระขาว ตั้งอยู่บริเวณเขาสีเสียดอ้า หมู่บ้านกลางดง ทางฝั่งขวาของทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ตรงหลักกิโลเมตรที่ 150 มีทางแยกเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร มีถนนราดยางเข้าไปถึงวัด วัดนี้มีพระพุทธรูปปางประทานพรสีขาว ขนาดใหญ่ ชื่อว่า "พระพุทธสกลสีมามงคล" ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า หลวงพ่อขาว ขนาดหน้าตักกว้าง 27.25 เมตร สูง 45 เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โดดเด่นอยู่บนยอดเขาสูงจากระดับพื้นดิน 112 เมตร

9. วัดเขาสุกิม  จังหวัดจันทบุรี


ที่มา: http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/ssru-NEW/14/TPUN/tp24.jpg

            วัดนี้ตั้งอยู่ที่ ตำบลเขาพลอยศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี ประมาณ 20 กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 ด้วยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อ พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย โดยมี จุดประสงค์เพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญภาวนาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป บริเวณวัดกว้างขวาง ตั้งสูงขึ้นไปอยู่บน เชิงเขา มีพื้นที่ประมาณ 3,280 ไร่ ภายในวัดมีศาสนสมบัติ ศาสนวัตถุ และวัตถุโบราณล้ำค่าต่าง ๆ มากมาย นอกจากนี้มีวัตถุโบราณล้ำค่าต่าง ๆ มากมาย นอกจากนี้มีการจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งของพระอาจารย์ซึ่งเป็นที่เคารพ สักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไปกว่า 20 ท่าน เช่น หลวงปู่แหวน หลวงปู่วัน พระอาจารย์มั่น ฯลฯ

10. วัดเขาพระยอด จังหวัดตรัง


ที่มา: http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/ssru-NEW/14/TPUN/tp23.jpg

            วัดเขาพระยอดตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง อยู่ห่างจากตัวอำเภอห้วยยอด ประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นภูเขาที่มีลักษณะคล้ายช้างหมอนชาวบ้านจึงเรียกว่า เขาช้างซุ่ม บนยอดเขาสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของตัวอำเภอห้วยยอดจากมุมสูงได้อย่างชัดเจน จุดสำคัญที่สุดและตั้งเด่นสง่าอยู่บนจุดสูงสุดก็คือ "เจดีย์บัวทองภูเขาพระยอด" เจดีย์องค์นี้มีฐานล่างเป็นทรงกลมธรรมจักรธรรมชาติแนวนอน และมีเจดีย์น้อย 8 องค์ ประจำเสารอบนอก 12 ต้น ประจำราศีนักษัตรจัดเป็นเสา 4 ชุด ดิน น้ำ ลม ไฟ ทรงกลางแปดเหลี่ยม ควบคุมทิศทั้ง 8 ประกอบด้วยพญานาค 5 ตน และประดับด้วยเหรียญกษาปณ์ทองตลอดทั้งองค์ ส่วนภายในบรรจุของสำคัญมากมาย เช่น พระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุ พระธาตุเหล็กไหล เบี้ยไทยพดด้วงรัชกาลที่ 3 รวมถึงเงินตราสกุลต่างๆ จำนวนประมาณค่ามิได้  

            ยิ่งกว่านั้นที่ผ่านมาก็มีข่าว 'ระนอง'ตัดยอดเขาเตียน สร้างเจดีย์ ‘ชาวบ้าน’ เดือดฝนชะซัดโคลน (http://bit.ly/2h90G5W) โดยข่าวกล่าวว่า "ชาวบ้านสุดทนวัดป่าชัยมงคลปรับพื้นที่ยอดเขาหลังวัดเหี้ยนเตียนเป็นหน้ากลอง ทำให้ฝนชะดินโคลนไหลเข้าบ้านเรือนประชาชนรอบวัด บ่อปลาเล้าไก่เสียหาย น้ำประปาหมู่บ้านเริ่มมีสีขุ่น ผอ.สำนักพุทธศาสนาจังหวัดระนองยันมีการขออนุญาตใช้พื้นที่ถูกต้อง แต่ทางเทศบาลยืนยันยังไม่มีการขออนุญาตดำเนินการก่อสร้าง ตรวจสอบพบมีการปรับพื้นที่เพื่อทำถนนกว้าง 40 เมตร ไปถึงพื้นที่ก่อสร้างเจดีย์ มีต้นไม้ใหญ่กว่า 300 ต้น ถูกตัดโค่นกองอยู่ตลอดเส้นทาง ขณะที่คนงานก่อสร้างยังทำงานต่อเนื่องทั้งที่เจ้าอาวาสรับปากชะลอโครงการก่อสร้างไว้ก่อน" (วัดป่าชัยมงคล หมู่ 3 ต.บางริ้น อ.เมืองระนอง)


ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/537488

            อาจกล่าวได้ว่าในกรณีเวิลด์พีซ เขาใหญ่ ของ "ธรรมกาย" ยังไม่ได้เป็นวัดหรือสถานปฏิบัติธรรมใดที่ก่อสร้างบนภูเขาแบบวัดข้างต้นนี้ แต่อยู่บนพื้นราบ และมีเอกสารสิทธิ์ ที่สำคัญอยู่ในเขตนิคมสร้างตนเอง ส่วนที่มีที่ดินบางแปลง (ยัง) ไม่ได้ออกเอกสารสิทธิ์เป็น ก็คงอยู่ในกระบวนการเช่นของชาวบ้านทั่วไป (ซึ่งต้องรอการพิสูจน์) และที่สำคัญไม่ได้บุกรุกป่าสงวน โดยเฉพาะป่าเขาใหญ่ดังที่เกิดขึ้นกับที่อื่น ยิ่งกว่านั้นในบริเวณโดยรอบก็มีรีสอร์ต โรงแรม และอาคารอื่นอีกหลายแห่งที่อาจหมิ่นเหม่กว่ากรณีเวิลด์พีซเสียอีก (http://bit.ly/29wpKRf)

 

            อันที่จริง ปรากฏการณ์ที่วัดต่าง ๆ แห่ไปสร้างบนยอดเขา ก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ หากให้มีการเช่าให้ถูกต้อง เพราะในแง่หนึ่งก็เป็นการนำธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ วัดหรือสาธุชนที่ศรัทธาต้องช่วยกันบริจาคเพื่อการนี้ เพราะถ้าไม่เป็นวัด ก็อาจให้มีการเช่าให้เป็นรีสอร์ตต่าง ๆ ได้ แต่ต้องมีการควบคุมให้ดี ไม่ให้มีการบุกรุกทำลายป่า และนำรายได้เหล่านี้มาใช้เพื่อการบำรุงรักษาป่า จ้างเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครมาตรวจตราอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น 

            ปรากฏการณ์มีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น วัดและสิ่งก่อสร้างอื่น แสดงให้เห็นชัดเจนว่า แนวคิดอนุรักษ์ที่ห้ามการก่อสร้างใด ๆ เลย ห้ามแตะต้องหรือดัดแปลงธรรมชาติเลย อาจเป็นแนวคิดที่ผิด อาจทำให้ป่าถูกปล่อยรกร้างไว้ แล้วมีผู้เกี่ยวข้องแอบเข้าไปตัดไม้ทำลายป่า เช่นที่เห็นอยู่ทั่วไปโดยไม่มีคนได้พบเห็น หรือโดยอ้างว่าไม่มีงบประมาณเพียงพอในการดูแลป่าไม้นั่นเอง

            ดังนั้นหากมีการจับกุมการบุกรุกป่าจริง ๆ แล้ว วัดดังเหล่านี้อาจมีปัญหาได้ อย่างไรก็ตามในการใช้ป่าเขาสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นั้น ก็น่าจะสามารถทำได้เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม แต่ควรมีการเช่าจากทางราชการให้ถูกต้องตามกฎหมายและดูแลการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าอีกด้วย

อ่าน 111,951 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved